ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการให้บริการสตรีตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของผู้ให้บริการ แผนกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
การรับรู้คุณภาพการให้บริการ, สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กบทคัดย่อ
การรับรู้คุณภาพการให้บริการของผู้ให้บริการแผนกฝากครรภ์ นำมาซึ่งการให้บริการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสถานการณ์ กับการรับรู้คุณภาพการให้บริการสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของผู้ให้บริการแผนกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ เขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพและแพทย์ที่ปฏิบัติงานแผนกฝากครรภ์ จำนวน 102 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านบุคคล ด้านสถานการณ์ และการรับรู้คุณภาพการให้บริการสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของ ผู้ให้บริการแผนกฝากครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติ Fisher’s exact test ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้คุณภาพการให้บริการสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของผู้ให้บริการแผนกฝากครรภ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.68, S.D.= 0.37) ปัจจัยด้านบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้คุณภาพการให้บริการสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของผู้ให้บริการ ได้แก่ ความรู้และทัศนคติ (rs = 0.412, p < 0.01 และ rs= 0.249, p < 0.05 ตามลำดับ) ปัจจัยด้านสถานการณ์เกี่ยวกับสื่อการสอนที่มีเนื้อหาครอบคลุมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้คุณภาพ การให้บริการสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของผู้ให้บริการ (rs = 0.196, p < 0.05) ส่วนประสบการณ์ และการได้รับการอบรมไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการให้บริการสตรีตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของผู้ให้บริการ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมความรู้และทัศนคติที่ดี และการใช้สื่อการสอนในการให้ความรู้ที่มีจำนวนเนื้อหาครอบคลุมของผู้ให้บริการ ทำให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมีความถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณภาพ
References
World Health Organization (WHO). THE GLOBAL PREVALENCE OF ANAEMIA IN 2011. [Internet]. 2015 [cited 2017 Nov 11]. Available from: http://www.who.int/nutrition/publications/micronutrients/
global_prevalence_anaemia_2011/en/
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ข้อมูลรายงานระบบ Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์ พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569). นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Say L, Chou D, Gemmill A, Tunçalp, Ö, Moller A-B, Gülmezoglu A M, et al. Global causes of maternal death: a WHO systematic analysis. Lancet Glob Health 2014;2:323–33.
World Health Organization (WHO). Iron deficiency anemia, assessment, prevention and control: A guide for program manager. [Internet]. 2001 [cited 2017 Nov 11]. Available from: http://www.who.int/nutrition/publications/en/ida_assessment_prevention_ control.pdf.
World Health Organization (WHO). Standards for Maternal and Neonatal Care: Iron and folate supplementation. [Internet]. 2007 [cited 2017 Nov 11]. Available from: http://www.who.int/reproductivehealth/publications/maternal_perinatal_health/
iron_folate_supplementation.pdf
World Health Organization. Antenatal Care Randomized Trail: Manual for The
Implementation of the new model. [Internet]. 2002 [cited 2018 Jan 5]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/42513/1/WHO_RHR_01.30.pdf
นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
นฤมล ทองวัฒน์, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, สุชาดา รัชชุกูล. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ : กรณีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2552;3:37-46.
Omachonu VK. Quality of care and the patient: New criteria for evaluation. Nursing management issue and ideas. Maryland: Aspen publishers; 1990.
อารีญา นิตุธร. ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติกิจกรรมที่จะนำไปสู่การประกันคุณภาพการพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไปในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
นงนุช หลอมประโคน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามการดำเนินกิจกรรมพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญา
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
Mc Cormick EJ, Ilgen D. Industrial and Organization Psychology. 3rd ed. New York: Englewood Prentice-Hall; 1985.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale (NJ): Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning.
New York: McGraw–Hill; 1971.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย:คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
Mosadeghrad AM. Factors influencing healthcare service quality. International journal of health policy and management 2014;3:77–89.
สิริรักษ์ เจริญศรีเมือง. ปัจจัยคัดสรรกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
วีกุญญา ลือเลื่อง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
สุรัตน์สวดี แซ่แต้. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์คุณภาพบริการสุขภาพสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในหน่วยบริการปฐมภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
รัชนีพร ภักดี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกรรมการโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม; 2550.
Alomari FK, Alshahrani MM, Alyami RM. Knowledge, attitude, and practice of quality standards in small-sized public hospitals, Saudi Arabia. Journal of Health Specialties 2018;3:22-27.
กตกร ประสารวรณ์, อัจฉรียา ปทุมวัน, เรณู พุกบุญมี. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2561;24:37-50.
Luthans F. Organizational behavior. 11th ed. Boston: McGraw-Hill; 2008.
ทัศนา บุญทอง. พยาบาลกับการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิสูจน์อักษร; 2530.
ปรียาภรณ์ บุญยัง. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2548.
สุจิรา พรมทองบุญ, โสเพ็ญ ชูนวล, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ผลการตั้งเป้าหมายร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2555;10:53-64.
Bour M. Factors Affecting Quality Nursing Care Delivery at Ridge Hospital: Perspectives of Nurses [dissertation]. Ghana: University of Ghana; 2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง