การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะ 2 เดือนหลังคลอดในมารดาที่แยกจากบุตรทันทีตั้งแต่แรกเกิด: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

ผู้แต่ง

  • พจมาลย์ จันทะวงษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมจิตร เมืองพิล สาขาวิชาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, การแยกจากมารดาและบุตร, ทารกป่วย

บทคัดย่อ

น้ำนมแม่เป็นวัคซีนและยารักษาโรคในทารกโดยเฉพาะทารกป่วย แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในทารกป่วยพบร้อยละ 17-40 เท่านั้น การศึกษานี้เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะ 2 เดือนหลังคลอดในมารดาที่แยกจากบุตรทันทีตั้งแต่แรกเกิด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทยและบุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด จำนวน 168 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.88 ค่าสัมประสิทธ์ความเที่ยง เท่ากับ 0.92 รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2562 ถึงธันวาคม 2563  โดยเมื่อบุตรอายุครบ 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองและส่งคืนผู้วิจัยทางไปรษณีย์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผลการศึกษา พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 2 เดือนร้อยละ 60.70 ระยะเวลาในการแยกจากบุตรนาน 6 ชั่วโมงถึงมากกว่า 1 สัปดาห์  ทารกส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.10 คลอดครบกำหนดและได้รับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อกับมารดา ร้อยละ 80 ของมารดาได้บีบเก็บน้ำนม พักอยู่กับบุตรเพื่อให้นมแม่ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงก่อนบุตรจำหน่าย  การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อกับมารดา การพักอยู่กับบุตรเพื่อให้นมแม่ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงก่อนบุตรจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 2 เดือนหลังคลอด (p < 0.05) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ข้อมูล/สนับสนุนการจัดกิจกรรมดังกล่าว และศึกษาผลของโปรแกรมการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ การพักอยู่กับบุตรเพื่อให้กินนมแม่ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงก่อนบุตรจำหน่ายต่ออัตราการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนหลังคลอด

References

Spatz DL. Ten steps for promoting and protecting breastfeeding for Vulnerable infants. J Neonatal Nurs 2004;18:385-96.

Victora CG, Horta BL, Loret de Mola C, Quevedo L, Pinheiro RT, Gigante DP, et al. Association between breastfeeding and intelligence, educational attainment, and income at 30 years of age: A prospective birth cohort study from Brazil. Lancet Glob Health [Internet]. 2015 [Cited 2021 Feb 15];3:199-205. Available from: https://doi.org/10.1016/S2214-109X(15)70002-1

World Health Organization (WHO). Increasing commitment to breastfeeding through funding and improved policies and programmes [Internet]. 2019 [ Cited 2021 Feb 15]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/326049/WHO-NMH-NHD-19.22-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/media/5146/file/Multiple%20Indicator%20ClClust%20Sur vey%202019.pdf

Ngerncham S, Boonlerluk P, Sudsawat B, Jaroonnetr T, Arkomwattana M, & Sawangsi U. Rate of breast feeding for 4 months and promoting factors: A cohort study of mothers of preterm infants at Siriraj hospital. Siriraj Medical Journal 2010;62:128-32.

จิดาภา พิกุลงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของมารดาทารกป่วยในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://203.131.209.219/km/admin/new/020517_150116.pdf.

Sutthida O, Pimpaporn K, Malee U. Factors predicting breastfeeding among mothers of preterm Infants”. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University [Internet]. 2016. [Cited 2021 Feb 15 ];24:32-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/82401

Maastrup R, Hansen BM, Kronborg H, Bojesen SN, Hallum K, Frandsen A, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding of preterm infants: Results from a prospective national cohort study. PLoS One [Internet]. 2014 [Cited 2021 Feb 15];9: 1-10. Available from: https://doi:10.1371/journal.pone.0089077

Karimi FZ, Sadeghi R, Maleki-Saghooni N, Khadivzadeh T. The effect of mother-infant skin to skin contact on success and duration of first breastfeeding: A systematic review and meta-analysis. Taiwan J Obstet Gynecol [Internet]. 2019 [Cited 2021 Feb 15];58:1-9. Available from: https://doi:10.1016/j.tjog.2018.11.002

กรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:ปัญหาที่พบบ่อยทารก. ใน: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ, บรรณาธิการ. Minimizing Neonatal Morbidities. กรุงเทพฯ: แอคทิฟพริ้นท์; 2554.

Hobbs A, Mannion C, McDonald S, Brockway M, Tough S. The impact of caesarean section on breastfeeding initiation, duration and difficulties in the first four months postpartum. BMC Pregnancy Childbirth [Internet]. 2016 [Cited 2021 Feb 15];16:1-9. Available from: https://doi.org/10.1186/s12884-016-0876-1

ศศิกานต์ กาละ, รังสินันท์ ขาวนาค. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดที่ทารกป่วย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559;36:196-207

อำภา วังคำ, นิตยา ไทยาภิรมณ์, อุษณีย์ จินตะเวช. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2554;38:73-85.

นฤมล จีนเมือง, วรรณา พาหุวัฒนกร, ฉวีวรรณ อยู่สําราญ. ปัจจัยด้านมารดาทารกและสิ่งแวดล้อมในการทํานายความสําเร็จของบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอดทารกก่อนกําหนด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559;8:44-53.

อุษณีย์ จินตะเวช, เทียมศร ทองสวัสดิ์, ลาวัลย์ สมบูรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด. พยาบาลสาร 2557;41:133-44.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang A. Statistical power analyses using G* Power 3.1:Tests for correlation and regression analyses. Behavior research Methods [Internet]. 2009 [Cited 2021 Feb 15];41:1149-60. Available from: https://link.springer.com/content/pdf/10.3758/BRM.41.4.1149.pdf

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนไออินเตอร์มีเดีย; 2553.

Casper C, Sarapuk I, Pavlyshyn H. Regular and prolonged skin-to-skin contact improves short-term outcomes for very preterm infants: A dose-dependent intervention. Archives de Pe´diatrie [Internet]. 2018 [Cited 2021 Feb 15];25:469-75. Available from: https://doi.org/10.1016/j.arcped.2018.09.008

Premji SS, Currie G, Reilly S, Dosani A, Oliver LM, Lodha AK, et al. A qualitative study: Mothers of late preterm infants relate their experiences of community-based care. PLoS One [Internet]. 2017 [Cited 2021 Feb 15];12:1-13. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0174419

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30