ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของสตรีก่อนตั้งครรภ์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • พรสุดา วงศ์ทอง คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พักตร์วิไล ศรีแสง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สตรีก่อนตั้งครรภ์, ภาวะทุพโภชนาการ, ภาวะโภชนาต่ำ

บทคัดย่อ

ภาวะโภชนาการก่อนตั้งครรภ์สตรีวัยเจริญพันธุ์มีผลต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการ ความรู้ด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของสตรีก่อนตั้งครรภ์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุครรภ์ไม่เกิน 10 สัปดาห์ มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จำนวน 194 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ด้านโภชนาการ (CVI = 0.81, KR-21 = 0.77) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (CVI = 0.82, α = 0.80) และการสนับสนุนทางสังคมจากสามีและครอบครัว (CVI = 0.80, α = 0.80) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการปกติ (ร้อยละ 73.71)  มีภาวะทุพโภชนาการ (ร้อยละ 26.29) เป็นภาวะโภชนาการต่ำ (ร้อยละ 12.37) และภาวะโภชนาการเกิน (ร้อยละ 13.92)  สำหรับความรู้ด้านโภชนาการอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 93.81) มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 86.08) และมีกาสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก (ร้อยละ 95.36) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อายุ (r = 0.363, p = 0.000) จำนวนการตั้งครรภ์  (r = 0.227, p = 0.002) และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (r = 0.203, p = 0.005) ดังนั้นสตรีทุกราย  ควรได้รับการประเมินภาวะโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ผดุงครรภ์ ควรวางแผนการดูแลภาวะโภชนาการกับสตรีที่มีอายุน้อย อายุมาก และสตรีที่ตั้งครรภ์หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมสตรีให้บริโภคอาหารที่เหมาะสม

References

UNICEF and WHO. Countdown to 2030: Tracking progress towards universal coverage for women’s, children’s and adolescents’ health: The 2017 Report [Internet]. 2017 [cited 2017 Nov. 15]. Available from: https://data.unicef.org/wpcontent/uploads/2018/01/Countdown-2030.pdf

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=37869.

Ota E, Haruna M, Haruna M, Anh DD, Tho LH, Tam NTT, Ariyoshi K, et al. Maternal body mass index and gestational weight gain and their association with perinatal outcomes in Viet Nam. Bull World Health Organ 2011;89:127-36. doi: https://doi.org/10.2471/blt.10.077982.

Countdown to 2030. women’s, children’s and adolescents’ health [Internet]. 2018 [cited 2018 May 15]. Available from: http://countdown2030.org/country-and-regional-networks/country-profiles.

Hung TH, Hsieh TT. Pregestational body mass index, gestational weight gain, and risks for adverse pregnancy outcomes among Taiwanese women: A retrospective cohort study. Taiwan J Obstet Gynecol 2016;55:575-81.

Liu P, Xu L, Wang Y, Zhang Y, Du Y, Sun Y, et al. Association between perinatal outcomes and maternal pre-pregnancy body mass index. Obesity Reviews 2016;17:1091-102.

Gernand AD, Schulze KJ, Stewart CP, West KP, Christian P. Micronutrient deficiencies in pregnancy worldwide: health effects and prevention. Nat Rev Endocrinol 2016;12:274-89. doi: 10.1038/nrendo.2016.37.

Surén P, Roth C, Bresnahan M, Haugen M, Hornig M, et al. Association between maternal use of folic acid supplements and risk of autism spectrum disorders in children. Jama 2013;309:570-7. doi: 10.1001/jama.2012.155925.

Shin D, Lee KW, Song WO. Pre-pregnancy weight status is associated with diet quality and nutritional biomarkers during pregnancy. Nutrients 2016;8:162.

Papachatzi E, Dimitriou G, Dimitropoulos K, Vantarakis A. Pre-pregnancy obesity: maternal, neonatal and childhood outcomes. J Neonatal Perinatal Med 2013;6:203-16.

Hemond J, Robbins RB, Young PC. The effects of maternal obesity on neonates, infants, children, adolescents, and adults. Clin Obstet Gynecol 2016;59:216-27. doi: 10.1097/GRF.0000000000000179.

Ramakrishnan U, Grant F, Goldenberg T, Zongrone A, Martorell R. Effect of women's nutrition before and during early pregnancy on maternal and infant outcomes: a systematic review. Paediatr Perinat Epidemiol 2012;26:285-301.

Thanoon O, Gharaibeh A, Mahmood T. The implications of obesity on pregnancy outcome. Obstetrics, Gynaecology & Reproductive Medicine 2015;25:102-5.

Yu Z, Han S, Zhu J, Sun X, Ji C, Guo X. Pre-pregnancy body mass index in relation to infant birth weight and offspring overweight/obesity: a systematic review and meta-analysis. PloS one 2013;8:e61627. doi: 10.1371/journal.pone.0061627.

Mihretie Y. Review on factors affecting the nutritional status of women in Ethiopia. Interv Obes Diabetes 2018;2:IOD-000526. doi: 10.31031/IOD.2018.02.000526.

Acharya SR, Bhatta J, Timilsina DP. Factors associated with nutritional status of women of reproductive age group in rural, Nepal. Asian Pac J Health Sci 2017;4:19-24.

Kamal SM, Islam A. Socio-economic Correlates of Malnutrition among Married Women in Bangladesh. Malays J Nutr 2010;16:349-59.

Karami Z, Nekuei N, Kazemi A, Paknahad Z. Psychosocial factors related to dietary habits in women undergoing preconception care. Iran J Nurs Midwifery Res 2018;23:311-5.

Belete Y, Negga B, Firehiwot M. Under nutrition and associated factors among adolescent pregnant women in Shashemenne District, West Arsi Zone, Ethiopia: a community-based. Journal of Nutrition & Food Sciences 2016;6:1-7.

Gouda J, Prusty RK. Overweight and obesity among women by economic stratum in urban India. J Health Popul Nutr 2014;32:79-88.

Manjunath TL, Zachariah SM, Venkatesha M, Muninarayana C, Lakshmi A. Nutritional assessment of women in the reproductive age group (15-49 years) from a rural area, Kolar, Kerala, India. Int J Community Med Public Health 2017;4:542-6.

Gardiner PM, Nelson L, Shellhaas CS, Dunlop AL, Long R, Andrist S, et al. The clinical content of preconception care: nutrition and dietary supplements. Am J Obstet Gynecol 2008;199:S345-56.

Stuebe AM, Oken E, Gillman MW. Associations of diet and physical activity during pregnancy with risk for excessive gestational weight gain. Am J Obstet Gynecol 2009;201:58-e1.

พิมพ์ศิริ พรหมใจษา, กรรณิการ์ กันธะรักษา, จันทรรัตน์ เจริญสันติ. ผลของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมต่อบทบาทการเป็นมารดาในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. พยาบาลสาร 2557;41:97-106.

สุวรรณี โลนุช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

สินี กะราลัย, จารุรัตน์ ศรีรัตนประภาส. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561;26:1-10.

Lao People's Democratic Republic. National Strategy on Nutrition to the Year 2025 and action plan 2016-2020. Vientiane capital: n.p; 2015.

ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ. บรรดาชนเผ่าใน สปป ลาว. นครหลวงเวียงจันทน์: กรมชนเผ่า; 2008.

Institute of Medicine. Weight gain during pregnancy: Reexamining the guidelines: Report brief MAY 2009 [Internet]. 2009 [cited 2017 Nov 10]. Available from: https://www.nap.edu/resource/12584/Report-Brief---Weight-Gain-During-Pregnancy.pdf

Polit DF, Beck CT. Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia: Lippincott; 2012.

อมรรัตน์ นธะสนธิ์, นพวรรณ เปียซื่อ, ไพลิน พิณทอง. ความรู้ทางโภชนาการทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการในกึ่งชนบทจังหวัดอุบลราธานี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2017;23:344-57.

รัตนาภรณ์ ตามเที่ยงตรง, ศิริวรรณ แสงอินทร์, วรรณี เดียวอิศเรศ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;25:49-60.

โสมรัศมิ์ กล่ำกล่อมจิตร์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการเพิ่มน้ำหนักร่างกายของหญิงตั้งครรภ์แรก กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตร มหาบัณฑิต]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2554.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. NewYork: McGraw–Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Walker LO, Hoke MM, Brown A. Risk factors for excessive or inadequate gestational weight gain among Hispanic women in a US‐Mexico border state. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2009;38:418-29.

Olson CM, Strawderman MS. Modifiable behavioral factors in a biopsychosocial model predict inadequate and excessive gestational weight gain. J Am Diet Assoc 2003;103:48-54.

Wells CS, Schwalberg R, Noonan G, Gabor V. Factors influencing inadequate and excessive weight gain in pregnancy: Colorado, 2000–2002. Matern Child Health J 2006;10:55-62.

วารุณี สันป่าแก้ว, สุภาวดี ลิขิตมาศกุล, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและปัจจัยบางประการ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน. วารสารเกื้อการุณย์ 2557;21:186-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23