การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยง เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเห็ดพิษสำหรับกลุ่มแม่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การสื่อสารความเสี่ยง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เห็ดพิษ, LEAD-Riskบทคัดย่อ
เห็ดพิษเป็นปัญหาที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับผู้รับประทาน และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ ความเสี่ยงในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเห็ดพิษอาจช่วยลดปัญหาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเห็ดพิษในกลุ่มแม่บ้าน การวิจัยเชิงพัฒนาประกอบไปด้วย 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาบริบทชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านเห็ดพิษ ด้วยกระบวนการ LEAD – Risk และ 3) ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในพื้นที่บ้านหัวแข้ ตำบลบัวงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี (จำนวน 30 คน สำหรับ ระยะที่ 1 และ 2 และ จำนวน 72 คน สำหรับระยะที่ 3 ตามลำดับ) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยง แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเห็ดพิษ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงเนื้อหาสถิติบรรยาย และสถิติ t – test ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บริโภคเห็ดจากพื้นที่ด้วยการค้นหาจากพื้นที่ใกล้ป่าเขามีทั้งประเภทเห็ดที่รับประทานได้และเห็ดพิษ แล้วนำมาประกอบอาหารด้วยตนเอง 2) รูปแบบในการสื่อสารความเสี่ยงมี 3 รูปแบบ คือ การสื่อสารโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และสื่อสุขศึกษาในชุมชน และ 3) ก่อนและหลังการใช้รูปแบบพัฒนา ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับเห็ดพิษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเห็ดพิษและด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ดพิษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่า การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับเห็ดพิษที่ผ่านอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และสื่อสุขศึกษาในชุมชน ช่วยส่งเสริมค่าเฉลี่ยความความรอบด้านสุขภาพเกี่ยวกับเห็ดพิษเพิ่มขึ้น ควรขยายผลรูปแบบดังกล่าวสำหรับพื้นที่อื่นต่อไป
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/journal_detail.php?publish=6891
กลุ่มงานควบคุมโรคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารประกอบการบรรยายสถานการณ์เห็ดพิษ. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี; 2562.
กลุ่มบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลบุณฑริก. รายงานการสอบสวนโรคเห็ดพิษ.อุบลราชธานี: โรงพยาบาลบุณฑริก; 2562.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. และลดเสี่ยง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ชินตา เตชะวิจิตรจำรุ. ศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 ส.ค.2562];19:1-11. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tcithaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/130366/97803
นิตยา พันธุเวทย์, นุชรี อาบสุวรรณ, ชัยศักดิ์ สุรสิทธิ์. การสื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคลากรกรมควบคุมโรค. วารสารควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 3 ส.ค.2562];39:225-32 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/download/154917/112654/
พรสุดา โสวรรณี, สิรินาถ เทียนคำ, ณัฐพล ปัญญา. ความรู้ ความเชื่อ การปฏิบัติในการเลือกเห็ดเพื่อปรุงอาหารและปฏิบัติเมื่อกินเห็ดพิษของชาวบ้าน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วาสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2563;6:995–1005.
พรวิจิตร ปานนาค, สุทธพีร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ย.2562];27:91-106. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/download/111192/86931/
พาหุรัตน์ คงเมืองทัยสุวรรณ์. แนวคิดในการสร้างความน่าเชื่อถือในการสื่อสารความเสี่ยง. คู่มือการสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพในภาวะวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค; 2560.
พรพรรณ กุลมา, มณูศิลป์ ศิริมาตย์, สายสมร ลำยอง. การเปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยาของเห็ดระโงกชนิดที่รับประทานได้กับรับประทานไม่ได้. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาวิทยาศาสตร์;1-4 กุมภาพันธ์ 2554; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ; 2554.
เมธาวี ดวงจินดา, นงพิมล นิมิตอานันท์, ศศิธร รุจนเวช. ผลลัพธ์ของโปรแกรมความเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค.2562];17:62-7 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/66803/54584
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. ความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมของประชาชนเพื่อป้องกันโรคเห็ดพิษ ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/research/form/60.
Daniel WW. Biostatistic: A foundation for analysis in the health sciences. 8th ed. n.p.: 1995.
Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International [Internet]. 2000 [cited 2019 Jun 24]. Available from: https://academic.oup.com/heapro/article/15/3/259/551108
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง