การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วย E-Learning ต่อความรู้และทักษะการรักษาพยาบาลขั้นต้น ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • วารุณี นาดูน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนนก
  • อุบล ปัดทา โรงพยาบาลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

E-learning , ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น, ความรู้, ทักษะ

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนด้วย E-Learning เป็นหนึ่งของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และอาจส่งเสริมความรู้และทักษะการรักษาพยาบาลขั้นต้นได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอน  2) พัฒนาการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วย E-Learning  3) ศึกษาผลความรู้และทักษะเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลขั้นต้น ภายหลังใช้รูปแบบฯ และ 4) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบฯ  เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ประกอบด้วย 4 ระยะ 1) ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัยที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะการรักษาพยาบาลขั้นต้น 2) พัฒนารูปแบบ E-Learning 3) ทดสอบใช้รูปแบบฯ ภายหลังพัฒนา และ  4) ประเมินประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) นักศึกษาพยาบาล และ 2) อาจารย์พยาบาล  จำนวน 15 และ 8 คน สำหรับสนทนากลุ่ม และจำนวน 148 และ 8 คน สำหรับทดลองใช้รูปแบบฯ ตามลำดับ  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวทางการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบทดสอบความรู้และทักษะการรักษาพยาบาลขั้นต้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นในรูปแบบการเรียนการสอน E-learning เพื่อความต่อเนื่อง ในการเรียนรู้และสังคมปัจจุบัน 2) รูปแบบฯ ที่พัฒนาแล้วใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้น โดยอาจารย์ผู้สอนดำเนินการสอนนักศึกษาตามรูปแบบฯดังกล่าว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ 3) คะแนนเฉลี่ยความรู้  และทักษะการรักษาพยาบาลขั้นต้นของนักศึกษาพยาบาลหลังที่ใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ  4) ประสิทธิภาพรูปแบบฯ เท่ากับ 80/85 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ และประสงค์ให้จัดรูปแบบฯ ต่อไป การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน E-learning ภาคปฏิบัติรักษาพยาบาลขั้นต้น จึงเป็นการตอบสนองความต้องการการเรียนการสอนตามสังคมเทคโนโลยี ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่อย่างต่อเนื่อง และยังช่วยพัฒนาความรู้และทักษะการรักษาพยาบาลขั้นต้นในนักศึกษาพยาบาล

References

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีระสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. เพื่อนคู่คิดครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ: การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.

วริศา วรวงศ์, พูลทรัพย์ ลาภเจียม, วราภรณ์ บุญยงค์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้เรียนรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2562;25:13-25.

วณิชา พึ่งชมพู, ศิริรัตน์ ปานอุทัย. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วย E-Learning สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2557;41:11-25

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. Best Practice in Teaching with E-Learning [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/media/BestPracticenewcover.pdf.

ศิริพจน์ มะโนดี. ผลของการจัดการสอนแบบใช้เว็บเสริมต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและความคิดเห็นต่อประสบการณ์ในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2548.

วารุณี นาดูน. ผลการสำรวจความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาการรักษา พยาบาลเบื้องต้น. ศึกษาเชิงสำรวจและสรุปผลรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ประจำปีการศึกษา 2561. อุบลราชธานี; 2562.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) PDCA (Deming Cycle) Management Techniques. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 2562;1:39-46.

อิศรัฏฐ์ รินไธสง. การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity index) [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/stats2researchs/student-of-the-month/johndoe.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ2558;8:24-40.

ไพโรจน์ เบาใจ. นิยามอีเลิร์นนิ่ง (E-learning) ที่แท้จริงสำหรับอนาคต [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://thaimlearning.blogspot. com/2007/10/e-learning.html.

Nicholson EA. E-Learning in Nursing: The Effectiveness of Interactivity [Internet]. 2012. [Cited 2020 Jun 20]. Available from: https://sophia.stkate.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1009&context=shas_honors.

หรรษา เศรษฐบุปผา, สมบัติ สกุลพรรณ์, สุวิท อินทอง. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (INTEGRATED E-LEARNING COURSE) สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2559;18:1-11.

วณิชา พึ่งชมพู, ศิริรัตน์ ปานอุทัย. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วย E-learning สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2557;41:11-25.

พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียนโสภาพันธ์, สะอาด ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์, วรรณพร บุญเปล่ง. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในยุคประชาคมอาเซียนผ่านระบบ E-learning. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;26:154-65.

วิรดา อรรถเมธากุลวรรณี, ศรีวิลัยศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วริศรา ม่วงช่วง. การใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2560;28:124-35.

Elfaki NK, Abdulraheem I, Abdulrahim R. Impact of e-learning vs traditional learning on students' performance and attitude. International medical journal 2019;24:225-33.

Ewan WMc, Jessica LB, Jacqueline LD. E-learning and nursing assessment skills and knowledge-An integrative review. Nurse Educ Today 2018;66:166–74.

Rouleau G, Gagnon MP, Côté J, Payne-Gagnon J, Hudson E, Dubois CA, et al. Effects of e-learning in a continuing education context on nursing care: A systematic review of systematic qualitative, quantitative and mixed studies reviews. J Med Internet Res 2019;21:1-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17