คุณลักษณะของมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลาและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนหลังคลอดได้สำเร็จ

ผู้แต่ง

  • ฝนทอง จิตจำนง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการผดุงครรภ์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมจิตร เมืองพิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิลุบล รุจิรประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

มารดาทำงานนอกบ้านเต็มเวลา, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

บทคัดย่อ

นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกสมวัย อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา  พบเพียงร้อยละ 13.80 เท่านั้น การวิจัยเชิงคุณภาพแบบเชิงพรรณนานี้ เพื่อศึกษาคุณลักษณะมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลาและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนได้สำเร็จ ในชุมชนเมืองแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ในผู้ให้ข้อมูล 10 คน ระหว่าง เดือน มกราคม 2562 ถึง มกราคม 2563  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า มารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลามีอายุเฉลี่ย 35.10 ปี (S.D. = 3.57)  ส่วนใหญ่ทำงานราชการ มีสิทธิลาคลอด 3 เดือน มีผู้ให้ข้อมูล 3 คน ต้องกลับไปทำงานภายหลังลาคลอดครบ 2 เดือน  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในครอบครัวขยาย มีรายได้เฉลี่ย 24,954 บาท (S.D. = 9808.44)  ทารกส่วนใหญ่คลอด    โดยการผ่าตัดคลอด เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดและมีสุขภาพปกติ   คุณลักษณะเด่นของผู้ให้ข้อมูล คือ  1) มีความพร้อมและตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) มีการวางแผนก่อนกลับไปทำงานและบริบทของสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อการบีบเก็บน้ำนม 3) ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว 4) มีทัศนคติเชิงบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ 5) เข้าถึงแหล่งข้อมูลและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาที่ทำงานนอกบ้าน ควรเตรียมความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์และบุคคลที่คาดว่าช่วยเลี้ยงลูกให้รู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และควรสนับสนุนต่อเนื่องไปจนถึง 6 เดือนหลังคลอด รวมทั้งการจัดหามุมนมแม่ในทุกหน่วยงานเพื่อให้มารดาสามารถบีบเก็บน้ำนมและเลี้ยงลูกด้วยแม่อย่างเดียวได้ต่อเนื่อง

References

Kuchenbecker J, Jordan I, Reinbott A, Herrmann J, Jeremias T, Kennedy G, et al. Exclusive breastfeeding and its effect on growth of Malawian infants: results from a cross-sectional study. Paediatr Int Child Health [Internet]. 2015 [Cited 2021 Jan 10];35:14-23. Available from: https://doi.org/10.1179/2046905514Y.0000000134

Victora CG, Horta BL, Loret de Mola C, Quevedo L, Pinheiro RT, Gigante DP, et al. Association between breastfeeding and intelligence, educational attainment, and income at 30 years of age: a prospective birth cohort study from Brazil. Lancet Glob Health [Internet]. 2015 [Cited 2021 Jan 10];3:199-205. Available from: https://doi.org/10.1016/S2214-109X(15)70002-1

World Health Organization [WHO]. Increasing commitment to breastfeeding through funding and improved policies and programmes. 2019. [ Cited Jan 10, 2021]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/326049/WHO-NMH-NHD-19.22-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [อ้างอิงเมื่อ 15 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/media/5146/file/Multiple%20Indicator%20ClClust%20Survey%202019.pdf

พรนภา ตั้งสุขสันต์, เอมพร รตินธร. ประสบการณ์และปัจจัยเชิงบริบทที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2554;29:52-63.

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 43 ก. (ลงวันที่ 5 เมษายน 2562) [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [อ้างอิงเมื่อ 15 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://legal.labour.go.th/images/law/Protection2541/labour_2541_7.PDF

ขนิษฐา เมฆกมล. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: แนวปฏิบัติในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5:274-86.

Weber D, Janson A, Nolan M, Wen LM, Rissel C. Female employees’ perceptions of organizational support for breastfeeding at work: findings from an Australian health service workplace. Int breastfeed J [Internet] 2011. [cited 2020 Nov 15];6:1-7. Available from: https://doi.org/10.1186/1746-4358-6-19

ศุทธินี รุจิระพงค์, พรเพ็ญ ศิริสัตยะวงศ์. ผลของโปรแกรมติดตามส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาผ่าน Facebook ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 12 สัปดาห์ของมารดาทำงานนอกบ้าน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2562;20:69-79.

ภัทรพรรณ ทำดี. บนเส้นทางสายน้ำนมแม่: อัตลักษณ์ของแม่ทำงานยุคใหม่กับความยากลำบากในความเป็นแม่. วารสารวิจัยสังคม 2559;39:1-38.

Sandelowski M. Whatever happened to qualitative description?. Res Nurs Health [Internet] 2000. [Cited 2020 Nov 15];23:334-40. Available from: https://doi.org/10.1002/1098-240x(200008)23:4<334::aid-nur9>3.0.co;2-g

Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry. Beverly Hills, CA: Sage Publications; 1985.

Dachew BA, Bifftu BB. Breastfeeding practice and associated factors among female nurses and midwives at North Gondar Zone, Northwest Ethiopia: a cross-sectional institution based study. Int breastfeed J [Internet] 2014. [cited 2020 Nov 15];9:1-7. https://doi.org/doi:10.1186/1746-4358-9-11

ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. การส่งเสริมมารดาที่ทำงานนอกบ้านให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาต่อเนื่องได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2556;6:1-14.

จาริณฒา ศุภวัชระสาร,พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของแม่ทํางานนอกบ้าน. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2561;36:66-76.

พัชนียา เชียงตา, ฉวี เบาทรวง, กรรณิการ์ กันธะรักษา. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาครรภ์แรก. พยาบาลสาร 2557;41:1-12.

Liu J, Shi Z, Spatz D, Loh R, Sun G, Grisso J. Social and demographic determinants for breastfeeding in a rural, suburban and city area of South East China. Contemp Nurse [Internet] 2013. [Cited 2020 Nov 15]45:234-43. Available from: https://doi.org/10.5172/conu.2013.45.2.234

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, ชญาดา สามารถ. ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะแรกหลังคลอด: ประสบการณ์ของมารดา. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34:30-40.

จิรนันท์ วีรกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [อ้างอิงเมื่อ 15 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://conference.nu.ac.th/nrc12/dFiles/proceeding/NRC12v3.pdf

Mirjalili N, Ansari Jaberi A, Ansari Jaberi K, Negahban Bonabi T. The role of maternal health literacy in breastfeeding pattern. J Nurs Midwifery Sci [Internet] 2018. [Cited 2020 Nov 15];5:53-8. Available from: https://doi.org/10.4103/JNMS.JNMS_21_18

Mogre V, Dery M,Gaa PK. Knowledge, attitudes and determinants of exclusive breastfeeding practice among Ghanaian rural lactating mothers. Int Breastfeed J [Internet] 2016. [Cited 2020 Nov 15];11:1-8. Available from: https://doi.org/10.1186/s13006-016-0071-z

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28