ผลของโปรแกรมใกล้บ้านใกล้ใจต่อการดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุรา ในคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุปรานี พลไชย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

โรคติดสุรา, การดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรา, ภาวะถอนพิษสุรา

บทคัดย่อ

ภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยโรคติดสุรา เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดและจำหน่ายจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสกลับไปดื่มสุราซ้ำและกลับมาโรงพยาบาลด้วยภาวะถอนพิษสุรา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมใกล้บ้านใกล้ใจต่อพฤติกรรมและปริมาณการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราในคลินิกจิตเวชของโรงพยาบาลยโสธร ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม โดยวัด 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 14 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2562 - 30 มีนาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมินอาการขาดสุรา แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา และแบบติดตามผู้ป่วยติดสุราใน 3 ด้าน 9 องค์ประกอบ จำนวน 5 ครั้ง ติดตามผลใน 3 เดือนและ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยวัดผลก่อนและหลังทดลอง เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนไม่มากจึงทดสอบทางสถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณการดื่มสุราก่อนและหลังใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลองด้วย Wilcoxon signed-rank test ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Mann-Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับการบำบัดตามโปรแกรม 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน กลุ่มทดลองทั้ง 14 คนสามารถหยุดดื่มสุราเพิ่มขึ้นเป็น 7 คน 8 คน และ 9 คน และไม่กลับไปดื่มสุราซ้ำได้ จำนวน 7 คน 5 คน และ 3 คน ตามลำดับ และลดปริมาณการดื่มได้จากค่าเฉลี่ย 99.28 ดริ้งต่อสัปดาห์ เหลือ 38.50 และ 7.5 ดริ้งต่อสัปดาห์ ซึ่งผลการทดสอบทางสถิติก่อนและหลังการทดลอง พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นกัน การวิจัยในครั้งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการลดการดื่มสุราของผู้ติดสุราได้ด้วยความร่วมมือในการดูแลจากครอบครัวและชุมชน ดังนั้นจึงควรมีการนำโปรแกรมบำบัดนี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานบริการอื่น ๆ ต่อไป

References

World Health Organization. Global status report on alcohol and health. Geneva: World Health Organization; 2011.

American Psychiatric Association (APA). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). Arlington, VA: Author. The basic in-text citation should look like this; 2013.

หรรษา เศรษฐบุปผา, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, ภรภัทร สิมะวงศ์, นพวรรณ อูปคำ. โปรแกรมใกล้บ้านสมานใจ: โปรแกรมการบำบัดดูแลเชิงรุกในชุมชนสำหรับ ผู้เป็นโรคติดสุรา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลสวนปรุง; 2554.

สุนทรี ศรีโกไสย, วงเดือน สุนันตา, สมพร กิ่วแก้ว, ชลิตสุดา พรหมทวีช,ทิพศมัย ทายะรังษี, หทัยชนนี บุญเจริญ. การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมแบบกลุ่ม สำหรับผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีการกลับป่วยซ้ำ. วารสารทางการพยาบาล 2010:25;67-79

อัจฉรา เตชะอัตตกุล, เพ็ญพักตร์ อุทิศ.ผลของโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมต่อการบริโภคสุราของผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช.วารสารการพยาบาลกองทับบก 2560:18(พิเศษ);22-31.

โรงพยาบาลยโสธร. สรุปผลการตรวจราชการประจำปี ครั้งที่ 2/2560. ยโสธร:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (อัดสำเนา); 2559.

Stein LI & Santos AB. Assertive community treatment of persons with severe mentalillness. New York: W.W. Norton; 1998.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือสาหรับผู้อบรม: การดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพ.แผนงานการพัฒนาระบบรูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ(ผรส). เชียงใหม่. วนิดาการพิมพ์; 2552.

ปริทรรศศิลปะกิจ, พันธ์นภา กิติรัตนไพบูลย์, วนิดา พุ่มไพศาล. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคสุราเรื้อรัง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุงกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข; 2542.

Bador FT, Higgins-Biddle CJ, Saunders BJ, Monterio GM. The alcohol use disorders identification test: guidelines for use in primary care. 2nd ed. n.p.: Department of Mental Health and Substance Dependence; 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29