สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นุชมาศ แก้วกุลฑล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • พรรณทิพย์ ชับขุนทด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปัทมาภรณ์ คงขุนทด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปาลิตา โพธิ์ตา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • วีรพงษ์ พลนิกรกิจ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางการพยาบาล, สมรรถนะทางวัฒนธรรม, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้สาขาพยาบาลศาสตร์ ผู้เรียนต้องมีความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 200 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยการประเมินความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.84 และการประเมินทักษะทางวัฒนธรรม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ 0.92  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยรวมของนักศึกษาทุกชั้นปี อยู่ในระดับมีความตระหนักถึงสมรรถนะทางวัฒนธรรม และไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) ในระหว่างชั้นปี เมื่อวิเคราะห์สมรรถนะทางวัฒนธรรมรายด้าน พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( gif.latex?\bar{X} = 8.74, S.D. = 1.97) และสูงกว่าชั้นปีอื่น (p = 0.05)  ส่วนด้านทักษะทางวัฒนธรรม ได้แก่ การตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม  ด้านทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรม และด้านความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม พบว่าไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) ในระหว่างชั้นปี ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม

References

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ดาริน โต๊ะกานิ และมุสลินท์ โต๊ะกานิ. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2552;1:42-55.

เยาวดี สุวรรณนาคะ, บุญสืบ โสโสม และกนกอร ชาวเวียง. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;1:186-97.

จุฑามาศ เอี่ยมวุฒิวัฒนา และศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรมในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;3:14-28.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์. ความรู้ ทัศนคติและความพร้อมต่อการเป็นประชาคมอาเซียนของอาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2557;2:17-31.

Campinha-Bacote J. A model and instrument for addressing cultural competence in health care. Journal of Nursing Education 1999;5:203-7.

ประณีต ส่งวัฒนา, สุดศิริ หิรัญชุณหะ, หทัยรัตน์ แสงจันทร์, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร และศิริพร ขัมภลิขิต. รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

Douglas MK, Pierce JU, Rosenkoetter M, Pacquiao D, Callister LC, Hattar-Pollara M, et al. Standards of practice for culturally competent nursing care. Journal of Transcultural Nursing 2011;4:317-33.

Leininger, M. Leininger’s reflection on her ongoing father protective care research. Journal of Cultural Competence in Nursing and Healthcare 2011;2:1-13.

อังคณา จิรโรจน์. การศึกษาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของอาจารย์และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;6:1006-22.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://rdo.psu.ac.th/ResearchStandards/animal/assets/document/GPower3-3.pdf

Cohen J. Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychol Bull 1992;1:155-9.

ผุสนีย์ แก้วมณีย์, วานีตา สาเมาะ, เรวัตร คงผาสุข, และพัชรินทร์ คมขำ. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของอาจารย์และนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5:26-37.

จิระนันท์ ภูสมตา และ มาริสา ไกรฤกษ์. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37:113-22.

กรรณิกา เรืองเดช, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, รุจา รอดเข็ม, และขจิต โอชาอัมพวัน. ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นชุมชนเป็นฐาน ต่อสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;23:12-25.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. มคอ.2 หลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30