บทบาทของพยาบาลในการประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

ผู้แต่ง

  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • คมวัฒน์ รุ่งเรือง Boromarajonani College of Nursing, Surin
  • รุ่งนภา ดีอ้อม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การทำหน้าที่ของไตที่ลดลงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ในร่างกายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ อันส่งผลให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะการดำเนินของโรค ดังนั้นแนวทางในการดูแลโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต คือการชะลอความเสื่อมของไต ยืดระยะเวลาการดำเนินของโรคเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้นานที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย การประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ในการประเมินและการปฏิบัติกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพซึ่งประกอบด้วย 3 มโนทัศน์ คือ ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคลที่มีผลต่อการกระทำพฤติกรรม แนวคิดอารมณ์และความคิดที่เฉพาะกับพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญในสร้างแรงจูงใจและมีอิทธิพลต่อการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และผลลัพธ์เชิงพฤติกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตกลงใจที่จะปฏิบัติตามแผนที่กำหนด และนำไปสู่พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต ช่วยส่งเสริมการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และนำไปสู่การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและยั่งยืน

References

Coresh J, Selvin E, Stevens LA, Manzi J, Kusek JW, Eggers P, et al. Prevalence of chronic kidney disease in the United States. JAMA 2007; 298:2038-47.

Centers for Disease Control and Prevention. Chronic kidney disease in the United States, 2019 [Internet]. 2019 [cited 2021 Jan 15]; 1:13-24. Available from: https://www.cdc.gov/kidneydisease/ pdf/2019_National -Chronic-Kidney-Disease-FactSheet.pdf

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25:1567-75.

พิสิษฐ์ เวชกามา, อติพร อิงค์สาธิต, อัมรินทร์ ทักขินเสถียร. การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 12 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/ 11228/4345?locale-attribute=th

Pugh-Clarke K, Naish PF, Mercer TM. Quality of life in chronic kidney disease. J Ren Care 2006;32:167-71.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต

พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เน็ต].2558. [เข้าถึงเมื่อ 12 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก :http://www.nephrothai.

org/images/10-11-2016/Final_%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD_CKD_2015. pdf

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons, MA. Health promotion in nursing practice. 4th ed. Upper Saddle River,NJ: Pearson; 2002.

สุปราณี กิติพิมพ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อรวมน ศรียุกตศุทธ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรกและระยะปานกลาง. วารสารพยาบาล 2556;62:35-42.

ปวิตรา จริยสกุลวงค์, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, วีรนุช รอบสันติสุข. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2558;7:26-36.

ขวัญฤทัย พันธุ, จันทร์ฉาย มณีวงค์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในภาคกลาง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2559;22:93105.

พัชรี รัศมีแจ่ม, ปริศนา อัครธนพล, พรทิพย์ ลิ้มธีระยศ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2561;19:56-68.

Pednder NJ. The health promotion model. In: K Masters, editor. Nursing theories: A framework for professional practice. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning; 2015. p. 213-23.

Devraj R, Borrego ME, Vilay AM, Pailden J, Horowitz B. Awareness, self-management behaviors, health literacy and kidney function relationships in specialty practice. World J Nephrol 2018;7:41-50. doi: 10.5527/wjn.v7.i1.41

จุฑามาศ เทียนสอาด, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์, ชาครีย์ กิติยากร. ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาและการให้ความรู้ตามหลักการสัมภาษณ์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561;5:19-38.

สุนิสา สีผม, วรรณภา ประไพพานิช, พูลสุข เจนพานิชย์, วรางคณา พิชัยวงศ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อการชะลอความเสื่อมของไตต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2557;25:16-31.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

กวิศรา สอนพูด, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตสกุล. การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563;40:101-14.

Lopez-Vargas PA, Tong A, Howell M, Craig JC. Educational interventions for patients with CKD: a systematic review. Am J Kidney Dis 2016;68:353-70.

Lei CC, Lee PH, Hsu YC, Chang HY, Tung CW, Shih YH, Lin CL. Educational intervention in CKD retards disease progression and reduces medical costs for patients with stage 5 CKD. Ren fail 2013; 35:9-16.

Warsi A, Wang PS, LaValley MP. Self-management education programs in chronic disease. Arch Int Med 2004;164:1641-49. doi:10.1001/ archinte.164.15.1641

Costantini L, Beanlands H, McCay E, Cattran D, Hladunewich M, Francis D. The self-management experience of people with mild to moderate chronic kidney disease. Nephrol Nurs J 2008;35:147-55.

รสสุคนธ์ วาริทสกุล. กลยุทธ์การสร้างเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2560;10:1-12.

เบญจมาส เรืองดิษฐ์, เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์, ชูลินดา สะมะแอ. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:194-207.

จันจิรา หินขาว, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, สุนทรี เจียรวิทยกิจ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสื่อมของไตระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2562;30:185-202.

พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2559;6:205-15.

สังคม ศุภรัตนกุล. แบบแผนครอบครัวในการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.วารสารควบคุมโรค 2561;44:92-101.

เสาวนีย์ ชนะพาล. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

วิภู กำเหนิดดี. การออกกำลังกายในโรคไตเรื้อรัง. ใน: สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ, ไกรวิพร เกียรติสุนทร, พงศธร คชเสนี, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, ธนันดา ตระการ วนิช,บรรณาธิการ. ตำราโรคไตเรื้อรัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2562. หน้า 879-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31