บทบาทพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในการส่งเสริมภาวะพฤฒพลังผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต ในจังหวัดแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
บทบาทพยาบาลวิชาชีพ, ภาวะพฤฒพลัง, ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตบทคัดย่อ
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นบุคลากรด้านสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้รับบริการในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการส่งเสริมภาวะพฤฒพลังผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของจังหวัดแห่งหนึ่ง จำนวน 198 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในการส่งเสริมภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 และ 3) แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานส่งเสริมภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 93.94) อายุระหว่าง 26-59 ปี (= 41.5, S.D. = 9.76) ระยะเวลาในการทำงานในหน่วยงาน อยู่ระหว่าง 2-35 ปี ( = 16.2, S.D. = 8.48) คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติของบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการส่งเสริมภาวะพฤฒพลังผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 3.99, S.D. = .57) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.15, S.D. = .55) ด้านความมั่นคงปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D.= .63) ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน พบว่า บทบาทในการส่งเสริมภาวะพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตระบุไม่ชัดเจน และพยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบงานหลายส่วน และส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านการอบรมเฉพาะทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จากผลการศึกษา อาจกล่าวได้ว่า การส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต จะนำไปสู่การพัฒนาการให้บริการในหน่วยบริการสุขภาพ ระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพแก่ผู้สูงอายุได้
References
วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2562;6:39-54.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.
Touhy TA, Jett K F. Ebersole and hess’ gerontological nursing & healthy aging. USA: Elsevier Inc. Printing; 2014.
นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2559:15;24-38.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสำรวจสุขภาพจิต(ความสุข)ของคนไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ:สํานักงานสถิติแห่งชาติ; 2559.
ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า. นนทบุรี:โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์; 2559.
World Health Organization. Mental health of older adults [Internet]. 2017. [cited 2019 July 24]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults.
สุวิทย์ เจริญศักดิ์, กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์, ธีรศักดิ์ สาตรา, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ. ความชุกของโรคทางจิตเวชในผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพของผู้ป่วยและผู้ดูแล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63:89-98.
วีระศักดิ์ เมืองไพศาล. พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย; 2560.
เมธี วงศ์วีระพันธุ์. การส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชุมชนต้นแบบ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก2559;47:38-47.
หฤทัย กงมหา, กรรณิการ์ หาญสูงเนิน, วิไลพร รังควัต และประทุ่ม กงมหา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤฒพลังในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2561;ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาลครั้งที่ 25:54-62.
ฐาณญา สมภู่ และคณิต เขียววิชัย. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย. วารสารศิลปะประยุกต์ 2562;12:35-45.
World Health Organization. Active ageing: A policy framework. Geneva: World Health Organization; 2002.
ปะราลี โอภาสนันท์. การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. พะเยา: โรงพิมพ์ดาวเหนือ; 2559.
มาสริน ศุกลปักษ์ และกรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;11:53-63.
ยมนา ชนะนิล, พรชัย จูลเมตต์, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30:83-92.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ดัชนีดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น; 2560.
วิจิตร ศรีสุพรรณ และกาญจนา จันทร์ไทย. คู่มือปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: จุดทอง; 2556.
จิรณัฐ ชัยชนะและกัญญดา ประจุศิลป. การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลทหารบก 2562;19:193-202.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สถิติสาธารณสุข ปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.phoubon.in.th/html/data.
Kenbubpha K, Higgins I, Chan W-CS, Wilson A. Promoting active ageing in older people with mental disorders in communities: Development and testing of a survey instrument. Proceedings of the 15th National Conference of Emerging Researchers in Ageing, The Australian National University; 2016 31 Oct-1 Nov; Canberra, Australian; 2016.
ชลการ ทรงศรี. การปฏิบัติตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2556;31:176-82.
ทศา ชัยวรรณวรรต และสุจิตรา กฤติยาวรรณ. พยาบาลกับการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 2562;33:1-12.
วิลาวรรณ คริสต์รักษา และทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. บทบาทพยาบาลจิตเวชชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยทางจิตวิญญาณ: มิติจิตวิญญาณ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ2561;36:6-14.
สิรานีย์ ประเสริฐยศ, วันดี สุทธรังสี และถนอมศรี อินทนนท์. ความพร้อมของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารพยาบาลสงขลานครินรินทร์ 2558;35:101-18.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.123.7/ncdmhda/wp-content/uploads/2018/04/มาตรฐานการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิต-รพ.ส.pdf
Kenbubpha K, Higgins I, Chan W-CS, Wilson A and Chan S. Testing psychometric properties of a new instrument ‘Promoting Active Ageing in Older People with Mental Disorders Scale’ from a cross-sectional study. Japanese Psychogeriatric Society 2019;1-14. doi:10.1111/psyg.12415.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, อรวรรณ สัมภวะมานะ และกาญจนา สุวรรณรัตน์. การปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารกองการพยาบาล 2553;37:52-63.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง