ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ยาบรรเทาอาการ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และกิจกรรมทางกายกับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ผู้แต่ง

  • ปรียานันท์ ธนาคุณ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชนกพร จิตปัญญา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นพมาศ พัดทอง คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด, มะเร็งเต้านม, ดัชนีมวลกาย, ความวิตกกังวล, กิจกรรมทางกาย

บทคัดย่อ

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยยาเคมีบำบัดอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษของยาเคมีบำบัดที่เรียกว่าอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด (Chemotherapy Induced Peripheral Neuropathy: CIPN) ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ยาบรรเทาอาการ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า กิจกรรมทางกายและอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิงระยะที่ 2 และ 3 อายุระหว่าง 30-59 ปี เข้ารับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด 176 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด แบบประเมินความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าและแบบสอบถามกิจกรรมทางกายแบบสั้น ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.90  0.86  1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.85  0.72 และ 0.74 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิสหสัมพันธ์อีต้า

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีอาการ CIPN ด้านระบบประสาทรับความรู้สึกมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 13.69, S.D. = 4.42) อาการที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือมือ ร้อยละ 73.30 รองลงมา คือ อาการ CIPN ด้านระบบประสาทสั่งการ  (gif.latex?\bar{X}= 10.29, S.D. = 2.70) อาการที่พบมากที่สุด คือ มีความลำบากในการขึ้นบันไดและลุกจากเก้าอี้เนื่องจากขาอ่อนแรง ร้อยละ 33 และมีอาการ CIPN ด้านระบบประสาทอัตโนมัติน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 2.50, S.D. = 0.85) อาการที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกวิงเวียนศีรษะเมื่อเปลี่ยนท่า ร้อยละ 27.80 2) ความวิตกกังวลและยาบรรเทาอาการมีความสัมพันธ์กับ CIPN อย่างมีนัยสำคัญที่ .05  (r = 0.16, 0.12) ตามลำดับ และดัชนีมวลกาย ภาวะซึมเศร้าและกิจกรรมทางกายไม่มีความสัมพันธ์กับ CIPN อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลควรนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในพัฒนาการวางแผนการพยาบาล การประเมิน CIPN ให้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรง CIPN ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Nyrop KA, Deal AM, Shachar SS, Basch E, Reeve BB, Choi SK, et al. Patient-reported toxicities during chemotherapy regimens in current clinical practice for early breast cancer. Oncologist 2019;24:762-71. doi: 10.1634/theoncologist.2018-0590.

Carozzi V, Canta A, Chiorazzi A. Chemotherapy-induced peripheral neuropathy: What do we know about mechanisms?. Neurosci Lett 2015;596:90-107. doi: 10.1016/j.neulet.2014.10.014.

Song SJ, Min J, Suh SY, Jung SH, Hahn HJ, Im S-A, et al. Incidence of taxane-induced peripheral neuropathy receiving treatment and prescription patterns in patients with breast cancer. Support Care Cancer 2017;25:2241-8. doi: 10.1007/s00520-017-3631-x.

Seretny M, Currie GL, Sena ES, Ramnarine S, Grant R, MacLeod MR, et al. Incidence, prevalence, and predictors of chemotherapy-induced peripheral neuropathy: A systematic review and meta-analysis. Pain 2014;155:2461-70. doi: 10.1016/j.pain.2014.09.020.

Kandula T, Farrar MA, Kiernan MC, Krishnan AV, Goldstein D, Horvath L, et al. Neurophysiological and clinical outcomes in chemotherapy-induced neuropathy in cancer. Clin Neurophysiol 2017;128:1166-75.

Eckhoff, Knoop AS, Jensen MB, Ewertz M. Persistence of docetaxel-induced neuropathy and impact on quality of life among breast cancer survivors. Eur J Cancer 2015;51:292-300.

Beijers A, Mols F, Dercksen W, Driessen C, Vreugdenhil G. Chemotherapy-induced peripheral neuropathy and impact on quality of life 6 months after treatment with chemotherapy. Support Care Cancer 2016;12:401-6.

ประไพศรี ปัญญาอิ่นแก้ว. อาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด วิธีการจัดการ ผลลัพธ์ของการจัดการตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็ง: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

นุสรา ประเสริฐศรี, ชนุกร แก้วมณี, พณัชญา ขันติจิตร, วิไลลักษณ์ ตียาพันธ์, Smith Ellen M Lavoie, ชลิยา วามะลุน, และบุญหยาด หมั่นอุตส่าห์. เคมีบำบัดที่มีผลต่อพยาธิสภาพประสาทส่วนปลายการศึกษาภาคตัดขวางในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2559;18:52-62.

Bao T, Li SQ, Mao JJ. Prevalence, risk factors, and sequelae of long-term chemotherapy-induced peripheral neuropathy (CIPN) among breast cancer survivors. Breast Cancer Res Treat 2016;159:327-33.

Greenlee H, Hershman DL, Shi Z, Kwan ML, Ergas IJ, Roh JM, et al. BMI, lifestyle factors and taxane-induced neuropathy in breast cancer patients: the pathways study. J Natl Cancer Inst 2017;109:1-8.

Lee K-M, Jung D, Hwang H, Son K-L, Kim T-Y, Im S-A, et al. Pre-treatment anxiety is associated with persistent chemotherapy-induced peripheral neuropathy in women treated with neoadjuvant chemotherapy for breast cancer. J Psychosom Res 2018;108:14-9.

Hong J, Tian J, Wu L. The influence of chemotherapy-induced neurotoxicity on psychological distress and sleep disturbance in cancer patients. Curr Oncol 2014;21:174.

นุสรา ประเสริฐศรี, วิไลลักษณ์ ตียาพันธ์, ยศพล เหลืองโสมนภา, และชลิยา วามะลุน. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเหตุพยาธิสภาพประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัด. NJPH 2559:1-13.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล, และ อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale (ฉบับภาษาไทย). สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539;41:18-30.

พรพิมล รัตนาวิวัฒน์พงศ์, อารมณ์ ขุนภาษี, ฉกาจ ผ่องอักษร, และภัทราวุธ อินทรกำแหง. ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามสากลเรื่องกิจกรรมทางกายชุดสั้น ฉบับภาษาไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549:147-60.

Andrea Di Blasio, Francesco Di Donato, Christian Mazzocco. Automatic Report of the International Physical Activity Questionnaire (IPAQ) [internet]. 2017 [cited 2018 June 13]. Available from: http://www.medicalfitnesscongress.com/index.php/en/component/k2/item/139

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์โลกด้านอาหาร กิจกรรมทางกายและสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

ก้องเกียรติ กูณฑ์กันที่กร. ประสาททันยุค. กรุงเทพมหานคร: พราวเพลส; 2553.

Argyriou A, Polychronopoulos P, Koutras A, Iconomou G, Gourzis P, Assimakopoulos K, et al. Is advanced age associated with increased incidence and severity of chemotherapy-induced peripheral neuropathy?. Support Care Cancer 2006;14:223-9.

ณฐพร สารโกศล. การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์: การคำนวณขนาดยาเคมีบำบัดในกลุ่มคนไข้เพาะ. ขอนแก่น: โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น; 2560.

Hu L-Y, Mi W-L, Wu G-C, Wang Y-Q, Mao-Ying Q-L. Prevention and treatment for chemotherapy-induced peripheral neuropathy: therapies based on CIPN mechanisms. Curr Neuropharmacol 2019;17:184-96.

จีรวรรณ จบสุบิน. ความชุกภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

เพียงใจ ดาโลปการ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28