ผลของโปรแกรมการเตรียมมารดาต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการป้องกันการติดเชื้อในทารกคลอดก่อนกำหนดก่อนจำหน่าย และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาก่อนนัดหมาย

ผู้แต่ง

  • สกลสุภา อภิชัจบุญโชค วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การป้องกันการติดเชื้อ, ทารกคลอดก่อนกำหนด, การนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษา

บทคัดย่อ

มารดาที่รับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตร แสดงให้เห็นถึงความสามารถในดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้  โปรแกรมการเตรียมมารดาอาจช่วยส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อในทารกคลอดก่อนกำหนด ก่อน หลัง และติดตามผลหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมมารดา 2) เปรียบเทียบอัตราการเข้ารับการรักษาก่อนนัดหมาย Follow up ของทารกคลอดก่อนกำหนด หลังได้รับโปรแกรมฯ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดและประเมิน 3 ครั้ง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดที่รักษาในหอผู้ป่วยเด็ก 2 จำนวน 50 คู่ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเตรียมมารดาในการป้องกันการติดเชื้อในทารกคลอดก่อนกำหนดก่อนจำหน่าย 2) แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของมารดาในการป้องกันการติดเชื้อในทารกคลอดก่อนกำหนด 3) แบบบันทึกข้อมูลของทารกคลอดก่อนกำหนด 4) แบบบันทึกการ Follow up และ 5) แนวคำถาม Focus group วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ One-way repeated measure ANOVA และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อในทารกคลอดก่อนกำหนดติดตามผลสูงกว่าหลังและก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 2) อัตราการกลับเข้ารักษาก่อน Follow up เท่ากับ ร้อยละ 0 และพบว่ามารดาทุกคนเห็นว่ากิจกรรมการป้องกันการติดเชื้อเป็นสิ่งที่ดีที่หอผู้ป่วย ควรปฏิบัติต่อไป สรุปว่าโปรแกรมการเตรียมมารดา ช่วยให้มารดารับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อในทารกคลอดก่อนกำหนดก่อนจำหน่ายและลดอัตราการกลับเข้ารับการรักษาก่อนนัดหมาย ควรใช้โปรแกรมฯในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาพยาบาลต่อไป 

References

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ และ วีณา จีระแพทย์. การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2554.

ฟองคำ ดิลกสกุลชัย, กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงสูง. ใน: คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น, บรรณาธิการ. การพยาบาลเด็ก และวัยรุ่นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554. หน้า 1-19.

สกลสุภา อภิชัจบุญโชค. การเตรียมบิดามารดาของทารกคลอดก่อนกำหนดในการส่งเสริมพัฒนาการต่อเนื่องที่บ้าน. วารสารเกื้อการุณย์ 2557;21:38-50.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Annual Report: สถิติประจำปี (ทางสูติศาสตร์). ภาควิชาสูติสาสตร์และนรีเวชวิทยา [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://council.cmu.ac.th/th/annual-report-2560/annual-report-2560-2/

World Health Organization. Preterm birth [Internet]. 2019 [cited 2020 Mar 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/ detail/ preterm-birth

Blencowe CS, Oestergaard MZ, Chou D, Moller AB, Narwal R, et al. National, regional, and worldwide estimates of preterm birth rates in the year 2010 with time trends since 1990 for elected countries: a systematic analysis and implications [Internet]. 2018 [cited 2020 March 25]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22682464

Melville JM, Moss TJ M. The immune consequences of preterm birth. Frontiers in Neuroscience Journal [Internet]. 2013 [cited 2020 Mar 20]. Available from: https://doi.org/10.3389/fnins.2013.00079

Palmeira P, Quinello C, Silveira-Lessa AL, Zago CA, Carneiro SaM. IgG Placental Transfer in Healthy and Pathological Pregnancies [Internet]. 2012 [cited 2020 Mar 20]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22235228/

Wiersinga WJ, Leopold SJ, Cranendonk DR, Poll TV D. Host innate immune responses to sepsis. Virulence 2014;5:36-44.

งานห้องคลอด. รายงานการคลอดย้อนหลัง 3. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. 2561.

งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ. รายงานการจำหน่ายผู้ป่วย หอผู้ป่วยเด็ก 2. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์; 2561.

กองการพยาบาล. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nursing.go.th/?page_ id=2489

กลุ่มการพยาบาล. KPI การ Re admitted ประจำปี 2559-2561. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์; 2561.

เดือนเพ็ญ บุญมาชู, เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับรู้พฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาและภาวะสุขภาพของทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33:150-8.

วนิสา หะยีเซะ, ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, ศิราคริน พิชัยสงคร. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถ ของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกต่อภาวะสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31:60-74.

Bandura A. Self efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Review 1997;84:191-215.

Soukup M. The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinic of North Amesica 2000;35:301-9.

Dale Ed. Audio Visual Method in Teaching. 4th ed. New York: Holt Rinehart and Winston; 1969.

ณัฐนิชา ศรีละมัย, นฤมล ธีระรังสิกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความ สามารถตนเองของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558;8:83-94.

ชูใจ อธิเบญญากุล, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, ทัศนี ประสบกิตติคุณ, โสภาพรรณ เงินฉํ่า. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ สมรรถนะ ตนเอง ประสิทธิภาพการให้นมทารก และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;35:23-35.

วนิสา หะยีเซะ, ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, ละศิราคริน พิชัยสงคร. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกต่อภาวะสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31:60-74.

Kadiroglu T, Tufekci FG. Effect of Infant Care Training on Maternal Bonding, Motherhood Self‑Efficacy, and Self‑Confidence in Mothers of Preterm Newborns. Maternal and Child Health Journal 2022;26:131–8.

Moradi S, Valizadeh S, Bostanabad MA, Rasouli AS, Tapak L. Impact of Empowerment Program on the Self-efficacy of Mothers of Premature Infants and their Re-hospitalization. Iranian Journal of Nursing Research 2018;13:1-7.

Buhyun L, Kyung-Sook B. A Self-Efficacy Promotion Program for the Continuation of Breastfeeding for Mothers of Premature Infants. Perspectives in Nursing Science 2020;17:90-8.

Lalley J, Miller R. The Learning Pyramid: Does It Point Teachers in the Right. Direction Education 2007;128:64-79.

สังคม ภูมิพันธุ์. การจำและการลืม [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/204750.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30