ผลการพัฒนาวีดิทัศน์เรื่องการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
คำสำคัญ:
วีดิทัศน์, การดูแลสุขภาพผู้ป่วย, โรคข้อเข่าเสื่อม, การแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทยจะทำให้ผู้มารับการรักษาจดจำและนำไปปฏิบัติได้ดี ลดภาระในการดูแลจากครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาวีดิทัศน์ เรื่องการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการการรักษาที่มีต่อการชมวีดิทัศน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มารับบริการการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จากผู้มารับการรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ วีดิทัศน์ แบบวัดความรู้ แบบวัดความพึงพอใจของผู้มารับการรักษาที่มีต่อวีดิทัศน์ และแบบประเมินสื่อสำหรับผู้เชี่ยวชาญ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 อันดับ วิเคราะห์ผลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า วีดิทัศน์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 87.67/80.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 หลังชมวีดิทัศน์ผู้มารับการรักษามีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยสูงกว่าก่อนชมวีดิทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความพึงพอใจต่อการชมวีดิทัศน์ อยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำสื่อวีดิทัศน์ไปส่งเสริมการดูแลสุขภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและก้าวสู่สากลได้มากยิ่งขึ้นต่อไป
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ข้อมูลสถิติประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/stat
กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.dop.go.th/th/laws/1/28/766
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2556;16:1-5.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 Public Health Statistics A.D. 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/
สุรศักดิ์ ศรีสุข. ปวดเข่า. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป เล่ม 2. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2553.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สถาบันการแพทย์แผนไทย. คู่มืออบรมการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. รายงานสถิติงานการแพทย์แผนไทยประจําปี. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี; 2562.
วิจิตร ทั่งทอง. การนำ Video Clip สู่การเรียนรู้ได้อย่างไร. วารสาร สสวท 2551;36:64-5.
วุฒิชัย ประสานสอย. การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์; 2545.
Gagne RM, & Karen Medsker. The Conditions of I earning: Training Applications. Forth Worth. TX: Harcourt Brace College Publishers; 1996.
เปรมวดี จิตสุขุมมงคล. การดูแลเข่าด้วยสมุนไพร. ใน:กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี, บรรณาธิการ. โครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ; 25 มกราคม 2560; โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท. สุราษฎร์ธานี; 2560. หน้า 1-14.
Likert RA. Technique for the Measurement of Attitude: Chicago: Rand Mc Nally.; 1993.
ลาวัลย์ ชาวเลาขวัญ. การสร้างวีดิทัศน์ เรื่อง การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก เมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านของวิทยาลัยแพทยศาสตรกรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล [การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
น้ำเพชร เทศะบำรุง. ผลการใช้บทเรียนแผ่นวีดิทัศน์ เพื่อฝึกทักษะการซักผ้าของเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2554.
กมลวรรณ เฉิดฉันท์พิพัฒน์. การศึกษาผลการเรียนแบบผสมผสาน ที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน วิชาสื่อการศึกษาเบื้องต้น ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2554;2:222-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง