แนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับรังสีรักษาในบริบทโรงพยาบาลชุมชน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติ, ทันตกรรม, รังสีรักษา, โรคมะเร็งศีรษะและคอบทคัดย่อ
รังสีรักษาเป็นการรักษาที่มีความสำคัญยิ่งในการรักษามะเร็งศีรษะและคอ อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีที่สูงก่อให้เกิดผลข้างเคียงในช่องปาก หลังรับรังสีรักษา การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ว่าจะเป็นระยะก่อน ระหว่างหรือหลังรังสีรักษา มีบทบาทสำคัญในการป้องกันผลแทรกซ้อนต่อฟันและอวัยวะในช่องปาก การวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ และศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ของแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา ในบริบทโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา การดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับรังสี โดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสรุปประเด็น ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะ และคอที่ได้รับรังสีรักษา ในบริบทโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ระยะ 20 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะก่อนการให้รังสีรักษา ระยะระหว่างการให้รังสีรักษา และภายหลังจากการให้รังสีรักษาโรคมะเร็ง โดยแนวปฏิบัติ 15 ข้อ ใน 20 ข้อ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 100 อีก 4 ข้อ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 90.9 ส่วนอีก 1 ข้อ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 72.7
ดังนั้นทันตแพทย์ ทันตบุคลากรในโรงพยาบาลและเครือข่ายในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสะเดาอาจพิจารณานำแนวปฏิบัติดังกล่าวมา เป็นแนวทางปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง มีมาตรฐานเดียวกันส่งผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลังการรักษา
References
Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin. 2018;68:394-424. doi:10.3322/caac.21492.
Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K, Sangrajrang S, et al. Cancer in Thailand: Vol. VIII, 2010–2012. Bangkok, Thailand: New Thammada Press; 2015.
ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง (HOCC-PSU) หน่วยมะเร็งวิทยา สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานประจำปี [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://hocc.medicine.psu.ac.th/files/annual_ report/ AN2561.pdf
ออนอง มั่งคั่ง. Dental management in head and neck cancer. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42:5-10.
จักรพันธุ์ สามไพบูลย์. การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chulabhornhospital.com/uploaded/files/HappinessHealth.pdf
Murdoch-Kinch CA, Zwetchkenbaum S. Dental management of the head and neck cancer patient treated with radiation therapy. J Mich Dent Assoc 2011;93:28-37.
ศุภผล เอี่ยมเมธาวี. รังสีรักษาบริเวณศีรษะและคอ-ผลการแทรกซ้อนและการจัดการ. ลำปางเวชสาร 2540;18:193-211.
Hancock PJ, Epstein JB, Sadler GR. Oral and dental management related to radiation therapy for head and neck cancer. J Can Dent Assoc 2003;69:585-90.
ฐิรายุ บุญเรือง. แนวทางการดูแลรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาในบริเวณช่องปากและใบหน้า. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2548;49:657-70.
นิวัติ เพียรไทยและสุณียา นามประเสริฐ. คู่มือการดูแลช่องปากผู้ป่วยรับรังสีรักษาบริเวณศีรษะและคอ: การดูแลช่องปากผู้ป่วยในระยะก่อนระยะระหว่างและระยะหลังได้รับรังสี [อินเทอร์เน็ต]. ลพบุรี: ศูนย์มะเร็งลพบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thatoomhsp.com/userfiles/คู่มือการดูแลช่องปากผู้ป่วยรังสีรักษา%20บริเวณศีรษะและคอ.pdf
ธีระ ศิริบุรานนท์. การดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยภายหลังรังสีรักษา: รายงานผู้ป่วยและบทความปริทัศน์. วารสารแพทย์เขต 6-7 2551;27:1209-22.
กองทันตสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. แนวทางเวชปฏิบัติทางทันตกรรมสำหรับคลินิกทันตกรรมของสำนักอนามัย. [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.skko.moph.go.th/dward/document_file/dental/common_form_upload_file/20140507152121_1054128126.pdf
Ellis E, Management of the patient undergoing radiotherapy or chemotherapy. In: Hupp JR, EIlis E and Tucker MR, editors. Contemporary oral and maxillofacial surgery. 6th ed. Netherlands; Elsevier Mosby; 2014. p. 363-81.
กล้าวจี เกตุแก้ว. การดูแลช่องปากผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ต้องได้รับการฉายรังสี. ใน: กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพวัยทำงานและผู้สูงอายุ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, บรรณาธิการ. การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาศักยภาพการจัดการปัญหาช่องปากผู้สูงอายุสำหรับทันตาภิบาลภายใต้แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย; 16-18 มกราคม 2562; โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิส คอนเวนชั่น. นนทบุรี; 2562. หน้า 22-25.
Jawad H, Hodson NA, Nixon PJ. A review of dental treatment of head and neck cancer patients, before, during and after radiotherapy: part 1. British Dental Journal 2015;218:65-8. doi:10.1038/sj.bdj.2015.28.
Jawad H, Hodson NA, Nixon PJ. A review of dental treatment of head and neck cancer patients, before, during and after radiotherapy: part 2. British Dental Journal 2015;218:69-74. doi:10.1038/sj.bdj.2015.29.
Ray-Chaudhuri A, Shah K, Porter RJ. The oral management of patients who have received radiotherapy to the head and neck region. British Dental Journal 2013;214:387-93. doi:10.1038/sj.bdj.2013.380
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. คู่มือปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะ หู คอ จมูก ช่องปากและลำคอ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chulacancer.net/uploads/upfiles/files/H%26N_T.pdf
พิมพ์นราพร พู่ทองคำ. การดูแลทันตสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งก่อนระหว่างและหลังการได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ. มะเร็งวิวัฒน์วารสารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย 2556;19:28-30.
Sandow PL, Pretreatment dental evaluation and management of the oral cancer patient. In: Werning JW, editor. New York; Oral cancer diagnosis, management, and rehabilitation. Thieme Medical Publishers; 2007. p. 72-7.
ศูนย์ทันตกรรม กรมแพทย์ทหารเรือ. แนวทางปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.nmd.go.th/kmnmd/Document/pdf/KM%20STK.pdf
วันทกานต์ ราชวงศ์. คู่มือการพยาบาล: การดูแลช่องปากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/ article/218/ sins_nursing_manual_2558_06.pdf
Huber MA, Terezhalmy GT. The head and neck radiation oncology patient. Quintessence Int; 2003;34:693-717.
Beumer J, Curtis TA, Nishimura R. Chapter 4 radiation therapy of head and neck tumors: oral effects, dental manifestations, and dental treatment. In: Beumer J, Curtis TA, Marunick M, editor. Washington, D.C.; Maxillofacial Rehabilitation Prosthodontic and Surgical Consideration. 2nd ed. Ishiyaku EuroAmerica, Inc. Publishers; 1996. p. 43-111.
Wood RE, Maxymiw WG, McComb D. A clinical comparison of glass ionomer (polyalkenoate) and silver amalgam restorations in the treatment of class 5 caries in xerostomic head and neck cancer patients. Oper Dent. 1993;18:94-102.
Vermeersch G, Leloup G, Vreven J. Fluoride release from glass–ionomer cements, compomers and resin composites. Journal of Oral Rehabilitation 200;28:26–32. doi:org/10.1046/j.1365-2842.2001.00635.x
Beech N, Robinson S, Porceddu S, Batstone M. Dental management of patients irradiated for head and neck cancer. Australian Dental Journal 2014;59:20-8. doi:10.1111/adj.12134.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง