ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิริพันธุ์ ปัญญายงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
  • กุลชญา ลอยหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  
  • สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครอง, โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ

บทคัดย่อ

การพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากและต้องอย่างทำต่อเนื่อง พ่อแม่และผู้ปกครองต้องเป็นหลักในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองจะช่วยส่งเสริมพัฒนาเด็กได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และทักษะระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของกลุ่มทดลอง 3) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กหลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือพ่อ แม่ และผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย 72 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพ่อแม่ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (IOC = .76, KR-20 = 0.96) ทัศนคติ (IOC = .91, a = 0.97) และทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (IOC = .93, a = 0.97) โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (IOC = .60 – 1.00) สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pair t-test และ T-test แบบ Independent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้ ทัศนคติ และทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของพ่อแม่และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน 2) ระดับความรู้ ทัศนคติ และทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของพ่อแม่และผู้ปกครองในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ระดับความรู้ ทัศนคติ และทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของพ่อแม่และกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงเด็ก สามารถนำโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ปกครองให้สามารถส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการดี มีความรู้ และทัศนคติที่ดีกับการเลี้ยงเด็กวัยปฐมวัย

 

References

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และ วันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: ซีจีทูล; 2561.

สถาบันราชานุกูล. ผลการสำรวจ สถานการณ์ IQ เด็กไทย ปี 2559. [อินเตอร์เนต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/preview-3958.html

MGR online. อุบลฯ “เมืองนักปราชญ์” แต่ไอคิวเฉลี่ยเกือบที่โหล่ของชาติ ทุ่มงบสร้างแต่วัตถุ [อินเตอร์เนต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/local/detail/9590000085592

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานอนามัยแม่และเด็ก. [อินเตอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: www.phoubon.in.th

Pigaget J. The construction of reality in the child. N.Y.: Ballantine Bods ;1986

ธันนิการณ์ สูญสิ้นภัย. ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเป็นหญิงรักหญิงในกรุงเทพมหานคร [ปริญญามานุษยวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs1993;16:354-61.

กัลยา วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Rodwell CM. An analysis of the concept of empowerment. J Adv Nurs 1996;23:305-13.

ณิชชาภัทร ธนศิริรักษ์,วลัยนารี พรมลา, อารีย์ มหุวรรณ และอัปสร ชานวิทิตกุล ผลของโปรแกรมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;4:76-84.

นที เกื้อกูลกิจการ. การสอนผู้รับบริการในโรงพยาบาล. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2541.

รัตน์ตยา ศรีสุข. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขาพนม [ปริญญาครุศาสตรศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2556.

กมลรัตน์ ก่อกาญจนวงษ์. ผลของการใช้กระบวนการประเมินพัฒนาการโดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัยอนุบาล. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29