ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ผุดผ่อง โรงพยาบาลม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก การเข้าใจถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเป็นข้อมูลเพื่อการวางแผนส่งเสริมทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 409 คนจากการสุ่มแบบระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 1.78, S.D. = 0.37 )  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ (X2 = 7.46, p-value = 0.024) และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (X2 = 13.82, p-value = 0.029) ปัจจัยนำ คือ ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก (X2 = 10.05, p-value = 0.004) ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก (r = 0.31, p-value = 0.000) และความเชื่อด้านสุขภาพช่องปาก (r = 0.35, p-value = 0.000) ปัจจัยเอื้อ คือ การมีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก (X2 = 96.96, p-value = 0.000) และการเข้ารับบริการทันตกรรม (X2 =31.77, p-value = 0.000) และปัจจัยเสริม คือ การได้รับการสนับสนุนจากบุคคล (X2 = 0.39, p-value = 0.000) การได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ (X2 = 7.89, p-value = 0.011) เนื้อหาที่ได้รับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก (X2 = 20.73, p-value = 0.000)  จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่า ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนโปรแกรมเพื่อส่งส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-28