การรับรู้ของพยาบาลต่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก : บริบท โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • วาสนา สารการ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • พิมลพันธ์ เจริญศรี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การรับรู้, ภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก, การพยาบาล, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอด ที่ส่งผลต่อการสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิต พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้ของพยาบาลต่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก บริบทโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยฝากครรภ์และห้องคลอด จำนวน 9 คน มีประสบการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 1 ปีขึ้นไป และยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เทปบันทึกเสียง และการบันทึกภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะเวลาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาประเด็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลมีการรับรู้ต่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การรับรู้เกี่ยวกับภาวะตกเลือดหลังคลอด สะท้อนถึงความรุนแรงเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต สูญเสียมดลูก และช็อค 2) การดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอด ประกอบด้วย การค้นหาความเสี่ยง การประเมินปริมาณเลือด การตวงเลือด และให้การช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินได้ทันท่วงที 

โดยสรุป ส่วนใหญ่พยาบาล มีการรับรู้ต่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกได้ถูกต้อง แต่การรับรู้เกี่ยวกับการดูแลยังขาดในประเด็น การประเมินความเสี่ยง การคาดคะเนปริมาณเลือด การเฝ้าระวังการตกเลือด จึงควรนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

References

World Health Organization (WHO). Managing complications in pregnancy and childbirth: a guide for midwives and doctors [Internet]. 2014 [cited 2016 Jan 14]. Available from: https://www.who.int/maternal_child_adolescent/documents/managing-complications-pregnancy-childbirth/en/

สุธิต คุณประดิษฐ์. การจัดการเชิงระบบเพื่อลดการตายมารดา. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสืบสวนสาเหตุการตายมารดาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการหาแนวทางป้องกันและลดการตายมารดาในระดับประเทศ; 23-24 มีนาคม 2560; กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.; 2560.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). นนทบุรี; 2559. หน้า 11-2.

กิตติภัต เจริญขวัญ. ภาวะตกเลือดหลังคลอด: การป้องกันและการดูแลรักษา. ใน: ประภาพร สู่ประเสริฐ, ฉลอง ชีวเกรียงไกร, เฟื่องลดา ทองประเสริฐ, ทวิวัน พันธศรี, บรรณาธิการ. สูตินรีเวช เชียงใหม่ทันยุค. เชียงใหม่: จรัสธุรกิจการพิมพ์; 2558. หน้า 53-62.

World Health Organization (WHO). Recommendations on prevention and treatment of postpartum hemorrhage [Internet]. 2012 [cited 2016 Jan 14]. Available from: https://www.who.int/maternal_child_adolescent/documents/managing-complications-pregnancy-childbirth/en/

Carroll M, Daly D, & Begley CM. The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: a systematic review. J BMC Pregnancy and Childbirth 2016;16:261. doi: 10.1186/s12884-016-1054-1.

Tort J, Rozenberg P, Traoré M, Fournier P, Dumont A. Factors associated with postpartum hemorrhage maternal death in referral hospitals in Senegal and Mali: a cross-sectional epidemiological survey. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:1-9.

Michelet D, Ricbourg A, Rossignol M, Schurando P, Barranger E. Emergency hysterectomy for lifethreatening postpartum hemorrhage: Risk factors and psychological impact. Gynecologic Obstetric and Fertilities 2015;43:773-9.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. รายงานสถิติงานห้องคลอดประจำปี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. 2558.

Angela H, Andrew D W, Dame T L. Is accurate and reliable blood loss estimation the 'crucial step' in early detection of postpartum hemorrhage: an integrative review of the literature. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:1-9.

Hancock A, Weeks A D, Lavender D T. Is accurate and reliable blood loss estimation the 'crucial step' in early detection of postpartum haemorrhage: an integrative review of the literature. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:1-9.

นันทพร แสนศิริพันธ์. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์. ใน: นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง, บรรณาธิการ. การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส; 2560. หน้า 241-72.

พรทิพย์ เรืองฤทธิ์. ผลลัพธ์ของการกดมดลูกส่วนล่างภายหลังรกคลอดทันทีร่วมกับการคลึงมดลูกเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในผู้คลอดปกติ. งานประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัยครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม; 20-21 กรกฎาคม 2560; มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก; 2560.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทนรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2553;6: 146-57.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด. ใน: นันทพร แสนศิริพันธ์ และ ฉวี เบาทรวง, บรรณาธิการ. การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตรติ้ง แอนด์ เซอร์วิส; 2560. หน้า 321-332.

สุพรรณี ศรีภาชัย. ผลของการใช้นวัตกรรมตุ๊กตาช่วยเตือนคลึงมดลูกต่อปริมาณการสูญเสียเลือดในมารดา 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาตา วิภวกานต์, อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:127-41.

นววรรณ มณีจันทร และอุบล แจ่มนาม. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31:143–55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30