การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ปลอดภัย ภายใต้ข้อจำกัดของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, การมีส่วนร่วม, ระบบการดูแลผู้ป่วยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ปลอดภัย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดช โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบของโดนาบีเดียน นำมาพัฒนาปรับเปลี่ยนกระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 3 ระยะ 1) ระยะเตรียมการ สำรวจสภาพปัญหาการปฏิบัติ ทรัพยากรและศักยภาพของผู้ป่วย ผู้ดูแล และผู้ปฏิบัติจากทีมสหวิชาชีพ ทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 2) ระยะดำเนินการ พัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพจัดประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติ 3) ระยะประเมินผล วิเคราะห์ผลการดูแลตามระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อสะท้อนผลการดูแลและใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการ ให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 21 คน เลือกแบบเจาะจง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษา ในระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 200 ราย เลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม และแบบบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า อัตราตายลดลงจาก ร้อยละ 0.68 เหลือร้อยละ 0.08 วันนอนเฉลี่ย ลดลงจาก 4.27 วัน เหลือ 2.33 วัน คะแนนการปฏิบัติตามแนวทางเพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ย 40.75 เป็น 90.68 คะแนนความพึงพอใจของสหวิชาชีพเพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ย 46.23 เป็น 97.85 ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยพึงพอใจกับระบบบริการระดับมากที่สุดร้อยละ 49.20 และ 80.50
ผลสำเร็จของการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพที่ได้ศึกษาสภาพปัญหาจากการปฏิบัติงาน การสำรวจทรัพยากรและศักยภาพของผู้ป่วย ผู้ดูแล และผู้ปฏิบัติจากทีมสหวิชาชีพ ในการศึกษาผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มเกิดอาการจนถึงกลับไปใช้ชีวิตในชุมชน นำกระบวนการปฏิบัติและผลลัพธ์ทางคลินิกที่ผ่านมาเป็นพื้นฐาน สู่การปฏิบัติได้จริงตามบริบทของโรงพยาบาล
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. ประเด็นการรณรงค์วันอัมพาตโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th›uploads›files
World Stroke Organization. World stroke campaign [Internet]. 2016 [cited 2018 June 6]. Available from: http://www.worldstrokecampaign.org
พนัสบดี ลิ่มลิขิต. รายงานข้อมูลโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี 2560. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม; 2560.
Bodenheimer T, Wagner EH, Grumbach K. Improving primary care for patients with chronic illness-The chronic care model, part 2. JAMA 2002;288:1909-14. doi: 10.1001/jama.288.15.1909
Donabedian A. Evaluating the quality of medical care. Milbank Quart 2005;83:691-729.
วรรณวรา ไหลวารินทร์, และกัญญา เลี่ยนเครือ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารกองการพยาบาล 2559;43:92-113
จิตลัดดา ประสานวงศ์, ปฐมวดี สิงห์ดง, และรสสุคนธ์ สามแสน. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล 2555;39:92-113.
เมธิณี เกตวาธิมาตร.บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดในระยะวิกฤต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;11:71-80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง