ทักษะศตวรรษที่ 21 ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ชนุกร แก้วมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://orcid.org/0000-0003-3521-4431

คำสำคัญ:

ทักษะศตวรรษที่ 21, บัณฑิต

บทคัดย่อ

พยาบาลเป็นบุคลากรที่สำคัญของทีมสุขภาพที่จำเป็นต้องมีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการหรือการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งศตวรรษที่ 21 งานวิจัยเชิงพรรณนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะศตวรรษที่ 21 ของบัณฑิตพยาบาล ประชากรคือผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ในปีการศึกษา 2558-2560 จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามทักษะศตวรรษที่ 21 ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า CVI เท่ากับ .77 และสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ทักษะศตวรรษที่ 21 โดยรวม ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{X}= 4.02, SD = .65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก คือ ทักษะความเข้าใจความต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (  gif.latex?\bar{X}= 4.31, SD = .52) ทักษะคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศและการสื่อสาร (gif.latex?\bar{X}= 4.22, SD = .58) และทักษะที่อยู่ในระดับดี คือ ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{X} = 4.19, SD=.63) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ ( gif.latex?\bar{X}= 4.16, SD = .46) ทักษะการอ่าน   (gif.latex?\bar{X}= 3.67, SD = .72) ทักษะการเขียน (gif.latex?\bar{X}= 3.68, SD=.76) ทักษะคณิตศาสตร์ (gif.latex?\bar{X}= 3.94, SD = .70) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (gif.latex?\bar{X}= 3.98, SD = .60) ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (gif.latex?\bar{X}= 3.75, SD = .74) ทักษะการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (gif.latex?\bar{X}= 3.94, SD = .66)

ผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนานักศึกษาพยาบาลทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้เป็นบัณฑิตที่มีทักษะศตวรรษที่ 21 ในระดับที่เหมาะสมโดยเฉพาะด้านการอ่านและการเขียน ต่อไป

References

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์; 2556.

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, สราญ นิรันรัตน์, จิราภรณ์ จันทร์อารักษ์, บุญเตือน วัฒนกุล และทุติยรัตน์ รื่นเริง. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;25:178-93.

Trilling B. & Fadel C. 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2012.

วรางคณา ทองนพคุณ. บทที่ 1 ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร. ใน: ศิริวรรณ ฉัตรมณี รุ่งเจริญ, วรางคณา ทองนพคุณ. เอกสารประกอบทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2556.

Gatzke H, Ransom JE. New skills for a new age: preparing nurses for the 21st century. Nursing Forum 2001;36:13-7. doi: 10.1111/j.1744-6198.2001.tb00244.

วิภาดา คุณาวิกติกุล. การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21 Teaching and learning in the discipline. พยาบาลสาร2558;42:152-6.

ณัชชา ตระการจันทร์. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ปีการศึกษา 2558. ใน: มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1“สร้างเสริมวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”; 29 กรกฎาคม 2559; มหาวิทยาลัยราชธานี. อุบลราชธานี: 2558. หน้า 1726-37.

รุ่งนภา จันทรา และอติญาณ์ ศรเกษตริน. ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4:180–90.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

อ้อมใจ พลกายา และอัจฉราพรรณ วงษ์น้อย. ความพึงพอใจในงานและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ 2560;1:69–77.

ประณีต ส่งวัฒนา, สุดศิริ หิรัญชุณหะ, หทัยรัตน์ แสงจันทร์, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, และศิริพร ขัมภลิขิต. รายงานการวิจัย การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

จุรีรัตน์ กิจสมพร, อรชร อินทองปาน, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, รุจิรา เจียมอมรรัตน์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. รายงานวิจัยอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี: กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์, ชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. วารสารจุฬาธุรกิจปริทัศน 2557;36:1-17.

จักรพันธ์ หลงสุข และสิรินาถ จงกลกลาง. การศึกษาพฤติกรรมการอ่าน ปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่าน และแนวทางในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารชุมชนวิจัย 2561;12:148-61.

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ. ปัจจัยที่ขัดขวางการเขียน [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ15 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก:https://www.gotoknow.org/posts/40585

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-07