การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดต่อนิ้วมือโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ชาย1โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ยุพาพิน สายแวว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • พรทิพย์ สรสนิธ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • วิภาพรรณ คงชนะ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ศิริเอมอร วิชาชาติ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • สุเพียร โภคทิพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • จรูญศรี มีหนองหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ผ่าตัดต่อนิ้วมือ, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อนิ้วมือจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้กรอบแนวคิดของซูคัพ ประกอบด้วย 4 ระยะ 1) การค้นหาทางคลินิก 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) ยกร่างแนวปฏิบัติการพยาบาล และ 4) นำแนวปฏิบัติไปใช้ใช้และสรุปผลการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการพยาบาลและการต่อนิ้ว  จากฐานข้อมูล PubMed, Google  Scholar, CINAHL ระหว่าง พ.ศ. 2558 - 2560 ได้งานวิจัยจำนวน 22 เรื่อง ได้แนวปฏิบัติ 3 ระยะคือ ระยะแรกรับเตรียมการผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดต่อนิ้ว และระยะจำหน่าย ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ภายหลังปรับปรุงแก้ไขนำแนวปฏิบัติไปใช้โดยพยาบาล 11 คน และทดลองใช้ในผู้ป่วย 22 คน ณ หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ชาย 1 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์  ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลร้อยละ 90 สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ดีในระยะแรกรับและระยะจำหน่าย ในระยะหลังผ่าตัดต่อนิ้วที่ทำได้ไม่ดีคือ การสังเกตสีนิ้ววันที่ 1 – 2  หลังผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยสาเหตุที่นิ้วขาดเกิดจากของมีคมตัดนิ้วมือ อัตราความสำเร็จในการต่ออวัยวะร้อยละ 82  มีภาวะแทรกซ้อนคือขาดเลือดมาเลี้ยงต้องตัดนิ้ว ร้อยละ18 ผู้ป่วยมีวันนอนเฉลี่ย 7 วัน ประเด็นที่ยังต้องให้ความสำคัญเพิ่มคือ การเก็บนิ้วก่อนนำส่งที่ไม่ถูกวิธี ณ จุดเกิดเหตุ จากการศึกษา แม้จะมีบางประเด็นที่ยังไม่ครอบคลุม แต่แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ก็เป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานอย่างเป็นรูปธรรมที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อนิ้วมือปลอดภัยมากขึ้น ควรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และควรมีการเผยแพร่แนวปฏิบัติการพยาบาลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและโรงพยาบาลบริการสุขภาพเขต 10 ต่อไป

References

1.งานเวชระเบียน.รายงานเวชระเบียนผู้ป่วยของหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ชาย 1 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. อุบลราชธานี; 2560.

2.Stirrat CR, Seaber AV, Urbaniak JR, Bright DS. Temperature monitoring in digital replantation. J Hand Surg Am 1978;3:342-7.

3.Cigna E, Lo Torto F, Maruccia M, Ruggieri M , Zaccheddu F, Chen HC, Ribuffo D. Post – operation care in finger plantation: Our case-load and review of the literature. Eur Rev Med Pharmacol Sci 2015;19:2552-61.

4.เอกกมล ธรรมโรจน์, สุรัตน์ เจียรณ์มงคล, วีระชัย โควสุวรรณ. การผ่าตัดต่อนิ้วมือ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2547;19:25-30.

5.Yin F, Mi JY, Rui YJ, Xu YJ, Yao Q, Qiu Y, Ke ZS, Sun ZZ. Risk factors of the failure in digit replantation. Zhongguo Gu Shang 2015;5:429-32.

6.Zhu X, Zhu H, Zhang C, Zheng X. Pre-operative predictive factors for the survival of replanted digits. Int Orthop 2017;41:1623-6.

7.วัชระ บุรพลกุล. การผ่าตัดเพื่อต่อนิ้ว ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2558 การศึกษาผู้ป่วยย้อนหลัง จำนวน 30 ราย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2558;30:147-54.

8.Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model. Nurs Clin North Am 2000;35:301-9.

9.Dec W. A meta-analysis of success rates for digit replantation. Tech Hand Up Extrem Surg 2006;10:124-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-07