5 คำสำคัญทางกฎหมายที่พยาบาลต้องรู้ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • บุญชัย ภาละกาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

คำสำคัญทางกฎหมาย, วิชาชีพการพยาบาล

บทคัดย่อ

การปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพพยาบาลเป็นการปฏิบัติการพยาบาลที่อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำต่อร่างกายและจิตใจของมนุษย์ แต่ภายใต้ข้อจำกัดของเวลาและทรัพยากร พยาบาลอาจเผชิญความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากผู้รับบริการ ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายและการถูกฟ้องร้องเป็นคดีทางกฎหมาย บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลมีความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ผ่านการทำความเข้าใจ 5 คำสำคัญทางกฎหมาย ลดความเสี่ยงต่อกฎหมาย และก่อให้เกิดความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น ซึ่ง 5 คำสำคัญทางกฎหมายดังกล่าวได้แก่ 1) เจตนา หมายถึง การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น “เจตนา”  ใช้ในการวินิจฉัยความผิดในทางอาญา 2) จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายจากการกระทำของตน  “จงใจ” ใช้ในการวินิจฉัยความผิดในทางแพ่ง 3) ประมาทและประมาทเลินเล่อ หมายถึง กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ “ประมาทและประมาทเลินเล่อ” ใช้ในการวินิจฉัยคดีอาญาและคดีแพ่งฐานละเมิด 4) ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หมายถึงการกระทำโดยมิได้เจตนา แต่เป็นการกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น และหากใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้แต่กลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ใช้ในการวินิจฉัยประกอบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในความรับผิดทางละเมิดของเข้าหน้าที่ และ 5) ละเมิด หมายความว่า การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด

References

อนุชา กาศลังกา. พยาบาลทำอย่างไร ถูกใจ ปลอดภัย ไม่ถูกฟ้อง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;1:80-86.

อิทธิพล สูงแข็ง. แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725.

วาทิน หนูเกื้อ. ข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับเจตนาในการกระทำความผิดอาญา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2557;2:52-9.

สุทธิลักษณ์ แก้วบุญเรือน. กฏหมายกับพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.slideshare.net/sutthiluckkaewboonrurn/ss-66911979Published on Oct 9, 2016.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์; 2554.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2526.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน; 2562.

ไสว นรสาร. ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล. ใน: แสงทอง ธีระทองคำ, ไสว นรสาร. กฎหมายสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่งจำกัด; 2556. หน้า 23-49.

ชัชวาล วงค์สารี, อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: เอ็น พี เพรส; 2557.

สำนักกฎหมายปกครอง. สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://web.krisdika.go.th/vib/showPage. jsp?sec=5&item=1

วารี นาสกุล. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชิ่ง; 2559.

ศักดิ์ สนองชาติ. คำอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ; 2556.

พิทูร ธรรมธรานนท์. "จงใจ"ต่างกับ "เจตนา"อย่างไร [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=muforensic&month=01-2013&date=04&group=15&gblog=24.

ชูชาติ อัศวโรจน์. คำอธิบายพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2555.

อินชัวรันส์ไทยดอทเน็ท. ความประมาทเลินเล่อ (negligence) ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง (gross negligence) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.insurancethai.net/negligence-grossnegligence/#popup1.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. ปัญหาฟ้องร้องทางการแพทย์และแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: จุลนิติ; 2554.

จินตนา สุวิทวัส. ความรับผิดทางละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;2:146-52.

กรมบัญชีกลาง. ย่อคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง เรื่องเสร็จที่ 81/2557 [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30