ประสิทธิผลการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยหวาน คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • เปรมจิต อนะมาน กลุ่มการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • อารมย์ พรหมดี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

 ผู้ป่วยเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องการจัดการรายกรณีเป็นแนวคิดหนึ่งที่ใช้จัดการปัญหาโรคเบาหวานได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการจัดการรายกรณี เกี่ยวกับ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและระดับความดันโลหิตซีสโตลิกและไดแอสโตลิกของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 130 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หลังงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 32 ราย จากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คู่มือการจัดการรายกรณี แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบบันทึกความร่วมมือ ในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และแบบประเมินความรู้ในการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) หลังดำเนินการจัดการรายกรณี ค่าเฉลี่ยความรู้การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงก่อนดำเนินการจัดการรายกรณี และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=10.15, p<.001) 2) มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูงร้อยละ 75.0 และ 3) ภายหลังดำเนินการจัดการรายกรณี ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนดำเนินการจัดการรายกรณี และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(t=7.21, p<.001;t=3.05, p<.001;t=6.59, p<.001) ตามลำดับ จากการใช้การจัดการรายกรณี ศึกษานี้สามารถช่วยให้การพยาบาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างดี ซึ่งจะเป็นแนวทางการพยาบาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป

References

1.World Health Organization.Global status report on noncommunicable diseases 2010. Geneva: World Health Organization; 2011.

2.วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

3.สำนักงานสาธารณสุจังหวัดมุกดาหาร. เอกสารตรวจราชการและนิเทศงานปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2560. การประชุมรับการตรวจราชการและนิเทศงานรอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2560; 24-26 มกราคม 2560; โรงพยาบาลมุกดาหาร. เอกสารอัดสำเนา.

4.เพรียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม, ประยูร โกวิทย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555;5:11-18.

5.Guénette L, Moisan J, Breton MC, Sirois C, Grégoire JP. Difficulty adhering to antidiabetictreatment: factors associated with persistence and compliance. Diabetes Metab 2013;39:250-7.

6.ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. พยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (Nurse Case Manager for Chronic Disease). วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;1:112-21.

7.Powell SK, Tahan HA. Case management: A practicalguide for education and practice. 3nd ed. Philadelphia: F.A Davis company; 2010.

8.Krapek K, King K, Warren SS, George KG, Caputo DA, Mihelich K, et al. Medication adherence and associated hemoglobin A1c in type 2 diabetes. Ann Pharmacother 2004;38:1357-62.

9.ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอด. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: วัฒนาการพิมพ์; 2557.

10.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จามจุรี โปรดักส์; 2553.

11.ยุพิน ภูวงษ์, สมเดช พินิจสุนทร. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลชุมชนคัดสรรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557;2:311-19.

12.Ann Ryan A. A systematic approach to self-medication in older people. British Journal of nursing 1998;9:528-35.

13.ปิยมนต์ รัตนผ่องใส, สุนีย์ ละกำปั่น, ปาหนัน พิชยภิญโญ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการใช้ยาต่อความฉลาดทางสุขภาพด้านการใช้ยาและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้.วารสารสภาการพยาบาล 2559;31:50-62.

14.ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์, อลิศรา แสงวิรุณ. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลตำรวจ.วารสารเภสัชกรรมไทย 2558;7:47-58.

15.Osterberg L, Blaschke T. Adherence to medication. N Eng J Med 2005;353:487-97.

16.ราตรี โกศลจิตร, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก. พยาบาลสาร 2560;44:26-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20