ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อทักษะการดูแลตนเองและทักษะการดูแลภายในบ้านในผู้ป่วยจิตเภทชายเรื้อรัง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ผู้แต่ง

  • อุดม สารีมูล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • สุปราณี พิมพ์ตรา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธวัชชัย พละศักดิ์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ, ทักษะการดูแลตนเอง, ทักษะการดูแลภายในบ้าน, ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพต่อทักษะการดูแลตนเองและทักษะการดูแลภายในบ้าน ในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทชายเรื้อรังที่รับไว้รักษาในกลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชชายเรื้อรัง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 คน จัดกลุ่มตัวอย่างให้เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินทักษะการดูแลตนเองและทักษะการดูแลภายในบ้าน และ 3) เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบค่าที และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางเมื่อมีการวัดซ้ำ 

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนทักษะการดูแลตนเองและทักษะการดูแลภายในบ้านของผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรังในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะการดูแลตนเองและทักษะการดูแลภายในบ้านของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากได้เข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทันทีและในระยะติดตามผล ในขณะที่กลุ่มควบคุมลดลงในช่วงระยะติดตามผลทันทีหลังการทดลองและในระยะติดตามผล

References

1.Buchanan RW, Carpenter WT. Concept of schizophrenia. In: Sadock BJ and Sadock VA, Ruiz P, Editors. Kaplan & Sadock’s comprehensive textbook of psychiatry. 8th ed. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins; 2005.

2.Pudtan P, Theo V, Harvey W, Melanie B, and Pichet U. Schizophrenia in Thailand: prevalence and burden of disease. Population Health Metrics [Internet]. 2010 [cited 2017 Aug 17];8:24. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2936278/

3.มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

4.Sadock BJ, Sadock VA. Synopsis of Psychiatry. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins; 2000.

5.โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. รายงานผลการปฏิบัติงาน 2559. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์; 2559.

6.บุญยืน เชื้อนาคะ และมณีวรรณ พัทมินทร์. ผลการฝึกทักษะการดูแลตนเองในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังงานบำบัดระยะยาว โรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา 2557;15:31-7.

7.เอื้อญาติ ชูชื่น และคณะ. ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556;28:13-25.

8.นิตยา เจริญยุทธ, กชพงศ์ สารการ, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแหล่งพลังอำนาจ ความมีคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหญิง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2555;26:41-56.

9.อำนวย วศินอมร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง : แผนการพยาบาลแบบบูรณาการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์: อุบลราชธานี; 2549.

10.จุฬารัตน์ วิเรขะรัตน์. ผลโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง สำหรับผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง. นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญา; 2555.

11.Anthony WA. Recovery from mental illness: The guiding vision of the mental Health service system in the 1990s. Psychosocial Rehabilitation Journal 1993;16:11-23.

12.Orem DE. Nursing Concept of Practice. 4th ed. St Louis: Mosky Year Book; 1991.

13.โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. เอกสารอัดสำเนา; 2550.

14.ลัดดา เรืองสิทธิ์. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสูงอายุที่มีความพิการทางจิต. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-07