ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรใน วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • แสงเดือน กิ่งแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ชนุกร แก้วมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • วรางคณา บุตรศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, บุคลากรภายในวิทยาลัยพยาบาล

บทคัดย่อ

ภาวะสุขภาพที่ดีและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของบุคคลากรในองค์กรเป็นปัจจัยที่ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยแบบพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรที่ได้รับการตรวจร่างกายในปีงบประมาณ 2557 จานวน 98 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกผลการตรวจสุขภาพและแบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 76.6) ระดับความดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 83.0) ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 79.5) และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปกติ (ร้อยละ 67.4) และมากกว่าครึ่งหนึ่งมีระดับโคเลสเตอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 59.8) และดัชนีมวลกายผิดปกติ (ร้อยละ 55.1) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 78 คนที่สมัครใจตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 55.8 มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลอยู่ในระดับดี ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณและด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านโภชนาการ ด้านกิจกรรมทางกาย และด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับ ไม่ดี ผลการวิจัยครั้งนี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานแก่บุคลากรสุขภาพหรือผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเพื่อสร้างเสริมให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีของบุคลากรในสถาบันนี้ต่อไป โดยเฉพาะด้านโภชนาการ ด้านการออกกาลังกาย และด้านการจัดการกับความเครียด

References

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in Nursing Practice. 5th ed. New jersey: Pearson Education, Inc.;2006.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2552.

ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์, นริชชญา หาดแก้ว, โสระยา ซื่อตรง และคณะ. ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2555;23:27-37.

ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, พัชรียา ไชยลังกา, ปิยะนุช จิตตนูนท์. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร: กรณีศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26:151-62.

Prateepchaikul, L., P. Chailungka, P. Jittanoon. State of health and health-promoting behaviors among staff: a case study of the Faculty of Nursing. Songklanagarind Medical Journal 2008;26:151-62.

อนัญญา คูอาริยะกุล, ศศิธร ชิดนายี, วราภรณ์ ยศทวี, เสาวลักษณ์ เนตรชัง, นิศารัตน์ นาคทั่ง. พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2557;6:48-62.

อุบลทิพย์ ไชยแสง, นิวัติ ไชยแสง. ภาวะสุขภาพจิต และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. การพยาบาลและการศึกษา 2555;5:135-44.

อรสา พันธ์ภักดี, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, สุภาพ อารีเอื้อ, พรทิพย์ มาลาธรรม, นพวรรณ เปียซื่อ, มณี อาภานันทิกุล และคณะ. ผลการสารวจปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. เอกสารประกอบการติดตามการดาเนินงานของโครงการสารวจภาวะสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลรามาธิบดี. 2552.

ลติตา พูลทอง. ผลกระทบของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล; 2555.

สถาบันพระบรมราชชนก. วิสัยทัศน์ อำนาจหน้าที่ และ พันธกิจ [อินเตอร์เนต] 2558. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จากhttp://www.pi.ac.th/group/100/วิสัยทัศน์-อำนาจหน้าที่-และ-พันธกิจ.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พูนสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร พฤติกรรมสุขภาพกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558;29:1-14.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จากัด; 2553.

ดวงเนตร ธรรมกุล. การสร้างสุขภาวะในองค์กร (Developing Healthy Organization). วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555;6:1-10.

วรรณวิมล เมฆวิมล. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2554.

อนวัช วิเศษบริสุทธิ์. ภาวะ Metabolic Syndrome ในบุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2556;9:61-75.

เพ็ญจิตต์ มานพศิลป์. คุณลักษณะสตรีผู้มารับบริการที่คลินิกวัยหมดระดูโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2547;22:409-13.

สุกรี สุนทราภา. สตรีวัยทอง. [อินเตอร์เนต] 2557. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tcithaijo.org/ index.php/SRIMEDJ/article/view/23625/20102

สิรยา กิติโยดม. ภาวะวัยหมดระดู (Menopause). เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2555;36:61-5.

ลออศรี จารุวัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชาชน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารควบคุมโรค 2552;35:79-88.

สุภาวดี พงสุภา. ลักษณะทางจิตสังคมและลักษณะทางพุทธที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.

จิตอารี ศรีอาคะ. การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลโรงพยาบาลน่าน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.

ประภารัตน์ ณ พัทลุง, เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงาน ของคนทำงานวัยกลางคน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2552;27:12-21.

ธนวัฒน์ ศาศวัตวงศ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารกลางวันของประชากรวัยทำงานในอำเภอเมืองเชียงใหม่ [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

สุรีย์พร โสกันเกตุ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารไขมันของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเชียงราย [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

นัฏชุกา คาวินิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในงาน ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว และกลยุทธ์การจัดการความเครียดกับพฤติกรรมเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย [สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

ธวัช วิเชียรประภา, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555;7:53-68.

วัลภา คุณทรงเกียรติ. จิตวิญญาณในมุมมองของตะวันออกและตะวันตก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2551;16:1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-29