รูปแบบการดำเนินงานบ้านปลอดบุหรี่แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, บ้านปลอดบุหรี่, แบบมีส่วนร่วม, ชุมชนบทคัดย่อ
สถานการณ์การสูบบุหรี่ก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นเสมอ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการดำเนินงานบ้านปลอดบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนในชุมชนเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ15 ปีขึ้นไปอยู่ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุมที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 850 หลังคาเรือน ผู้ที่สูบบุหรี่จำนวน 311 คน และคณะกรรมการจำนวน 60 คน ดำเนินงานผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ 3 วงรอบ วัดผลการพัฒนาตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stages of change) ระหว่าง เดือนมิถุนายน 2558 ถึงมกราคม 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การบันทึก การสังเกต แบบคัดลอกข้อมูลและแบบสารวจสถานการณ์ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในชุมชน แบบเก็บข้อมูลติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในชุมชนและในคลินิกฟ้าใส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบ้านปลอดบุหรี่โดยชุมชน ประกอบด้วย การสารวจสถานการณ์ปัญหาการ mapping หลังคาเรือน ที่สูบบุหรี่ คืนข้อมูลชุมชน การประกาศนโยบายบ้านปลอดบุหรี่ สร้างมาตรการทางสังคมเพื่อปฏิบัติร่วมกัน สร้างสื่อเพลงคนบ้านเดียวกันชวนเลิกบุหรี่ การรณรงค์ต่อเนื่องในชุมชน ตั้งคลินิกฟ้าใสบำบัดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การให้ความรู้โดยใช้หลัก 5A มอบสาส์นให้ความรู้พิษภัยบุหรี่และเชิญเข้ารับบริการในคลินิกฟ้าใส รวมทั้งติดตามเยี่ยมบ้าน ในชุมชน ผลจากกระบวนการดำเนินงานทำให้จำนวนคนที่สูบบุหรี่ลดลงจาก 311 คน (ร้อยละ 9.15) เป็น 258 คน (ร้อยละ7.59) เลิกสูบบุหรี่ 53 คน (ร้อยละ 17.04) และในจานวนนี้เป็นสมาชิก ที่อยู่ในครอบครัวที่มีเด็กและหญิงตั้งครรภ์ถึง 37 คน (ร้อยละ 39.78) ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนในครอบครัวเปลี่ยนไป โดยพบว่า สูบบุหรี่ทั้งในและนอกบ้านลดลงจากร้อยละ 64.31 เป็น 29.59 และในครอบครัวที่มีเด็กและหญิงตั้งครรภ์ลดลงจากร้อยละ 90.32 เป็น 21.51 กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนก่อให้เกิดรูปแบบการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้สูบบุหรี่แบบชุมชนร่วมคิดหารูปแบบและแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโดยมีกิจกรรมที่ต่อเนื่อง
References
บุปผา ศิริรัศมี. ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย กลุ่มผู้สูบบุหรี่ รอบที่ 6 (พ.ศ. 2555) การสำรวจระดับประเทศ ภายใต้โครงการ International tobacco control policy-Southeast Asia. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
ฉันชาย สิทธิพันธ์. พิษภัยของการบริโภคยาสูบ. ใน: สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, บรรณาธิการ. คู่มือการรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สินทวีกิจปริ้นติ้ง; 2553.
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. ตัวเลขเตือนภัยบุหรี่ [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 9 มี.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.smokefreezone.or.th/content_attachment/attach/cec7405df45b4b639176a32ef17e2cd.pdf
กรองจิต วาทีสาธกกิจ. การส่งเสริมการเลิกบุรี่ในงานประจำ. หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2551.
6. ลักขณา สิริรัตนพลกุล, ศธัญญา ธิติศักดิ์, เพ็ญลักษณ์ ลาภานันต์, สุพัตรา สุริยะภูมิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีสมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่ มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเลิดสิน. วารสารพยาบาลกาชาดไทย 2559;9:92-106.
วันเพ็ญ ดวงมาลา, วันทนีย์ ทองหนุน. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกสูบบุหรี่ของบุคคลากรโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี: รายงานการวิจัย; 2554.
เดือนทิพย์ เขษมโอกาส, พรทิพย์ ชีวะพัฒน์. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อครอบครัวปลอดบุหรี่. วารสารเกื้อการุณย์ 2555:19: 103-17.
World Health Organization. The family health nurse: Context, conceptual framework and curriculum [Internet]. 2000 [Cited 2017 Dec 8]. Available from: http://www.who.int/iris/handle/10665/107930
กอบกุล สาวงค์ตุ้ย, มณฑา เก่งการพานิช, ดิลกา ไตรไพบูลย์, อรพรรณ กาศโอสถ, จุรีมาศ ไทรงาม. ผลการดำเนินกิจกรรมลดเลิกบุหรี่เชิงรุก โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วารสารพยาบาล 2556;64:22-27.
Stephen Kemmis & Robin Mc Taggart. The Action Research Planner: Doing Critical Participatory Action Research [Internet]. 1998 [Cited 2016 Dec 8]. Available from: http://www.springer.com/gp/book/9789814560665
Jongudomkarn D, Macduff C. Development of a family nursing model for prevention of cancer and other noncommunicable diseases through an appreciative inquiry. Asian Pac J Cancer Prev 2014;15:10367-74.
ดารุณี จงอุดมการณ์. การพยาบาลสุขภาพครอบครัว:แนวคิดทฤษฎีและการประยุกษ์ใช้ในครอบครัวระยะวิกฤต. ขอนแก่น : บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์; 2558.
รัชนี มิตกิตติ, อัญชัน เกียรติพรศักดา. การช่วยเหลือให้มีการเลิกบุหรี่ในชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาคม. วารสารพยาบาล 2554;60:62-76.
กรองจิต วาทีสาธกกิจ. ถอดบทเรียนโครงการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ : ศูนย์กลางการแก้ปัญหาบุหรี่และสุขภาพระดับชุมชน พ.ศ.2553-2554 ภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2554.
ภานิสา ระยา, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, กรกนก ลัธธนันท. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ตามแบบจำลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;31:9-25.
มลทา ทายิดา, สุรินธร กลัมพากร. รูปแบบการพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบในอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาล 2554;1: 27-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง