การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด Streptokinase ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI :โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • สุเพียร โภคทิพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • นวลน้อย โหตระไวศยะ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • นาฎอนงค์ เสนาพรหม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • แจ่มจันทร์ พวงจันทร์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • หนึ่งฤทัย อินมณี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • อัญชลี สุธรรมวงษ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การบริหารยา Streptokinase, ผู้ป่วย STEMI, สมรรถนะพยาบาล

บทคัดย่อ

การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดชนิด Streptokinase (SK) ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI สามารถลดอัตราตายของผู้ป่วย พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลและการบริหารยา SK สำหรับผู้ป่วย ในเขตสุขภาพที่ 10 มีโรงพยาบาลที่สามารถให้ยา SK ได้ จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.90 วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการบริหารยาละลายลิ่มเลือด SK สำหรับผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F2) ขึ้นไป โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพกลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลเครือข่ายระดับ F2 ขึ้นไปจำนวน 60 โรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 10 เครื่องมือในการพัฒนาประกอบด้วยหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการในการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด SK สำหรับผู้ป่วย STEMI แบบประเมินความรู้และทักษะการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด SK การพัฒนาโดยกระบวนการ PDCA 3 วงรอบ ผลการวิจัยวงรอบที่ 1 พบว่าพยาบาลมีความรู้และทักษะในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ที่เป็น STEMI ได้ บริหารยา SK ได้ ส่งผลให้โรงพยาบาลระดับ F2 ขึ้นไปสามารถให้ยา SK ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31.7 ในปี 2557 การพัฒนาวงรอบที่ 2 พบว่าพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยมีทักษะในการใช้ Adhesive paddle ใช้ Transcutaneous pacing ได้ถูกต้องและปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยได้รับยา SK ครบถ้วน ปี 2558 โรงพยาบาล F2 สามารถให้ยา SK ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 61.9 และการพัฒนาวงรอบที่ 3 พยาบาลสามารถเป็นวิทยากรกลุ่มเรื่อง EKG ในจังหวัดได้ โรงพยาบาล F2 สามารถให้ยาครบร้อยละ 100 ในปี 2559 อัตราการได้รับ การรักษาด้วยยา SK/PCI เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 78.1 ร้อยละ 78.5 และร้อยละ 79.08 ในปี 2558, 2559 และ 2560 ตามลำดับทำให้ผู้ป่วย STEMI สามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น เกิดความปลอดภัย เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วย STEMI เขตสุขภาพที่ 10

References

กัมปนาท วีรกุล, จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์, บรรณาธิการ. 7 R การลดอัตราตายในโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน. นนทบุรี: ศรีนครดีไซน์พริ้นติ้ง; 2557.

เกรียงไกร เฮงรัศมี และ กนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2557. ปรับปรุงครั้งที่ 3 สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. การพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับ M1-F2 ในการบริหารให้ยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI เขตบริการสุขภาพที่ 10: บทบาทแม่ข่ายระดับ A. การประชุมระบบบริการสุขภาพ; 25 กันยายน 2557; โรงพยาบาลสรรพ สิทธิประสงค์. อุบลราชธานี; 2557.

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ และสานักบริหารการสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาโรคหัวใจ เรื่องแนวทางการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ใน: โตมร ทองศรี, บรรณาธิการ. กรุงเทพ: บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จากัด; 2559.

สุเพียร โภคทิพย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เขตสุขภาพที่ 10. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์; 2558.

Morton PG. & Fontaine DK. Critical Care Nursing: A Holistic Approach. 10ed Wolters Kluwer, Lippincott Williams & Wilkins; 2013.

สุเพียร โภคทิพย์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะและมีภาวะเลือดออกในสมอง: ความท้าทายในการปฏิบัติการพยาบาล. สรรพสิทธิเวชสาร 2558;36:133–49.

Taheri L, Zargham-Boroujeni A, Jahromi MK, et al. Effect of Streptokinase on Reperfusion After Acute Myocardial Infarction and Its Complications: An Ex-Post Facto Study. Glob J Health Sci 2015;7:184–9.

สุเพียร โภคทิพย์. EKG 9 Steps For Nurse. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-29