ผลการใช้ Ten Steps ต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรมสาย 2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์: การศึกษาวิจัยนำร่อง

ผู้แต่ง

  • สายสินธ์ กอมณี โรงพยำบำลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลรำชธำนี
  • เยาวเรศ เอื้ออารีเลิศ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • เกียรติกุล เพียงจันทร์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธนันพร ตรีบุตดี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • กัญจน์รัตน์ สุวรรณโกฏ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ดรุยาลักษม์ สายแวว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

น้ำนมแม่, Ten Steps, ทารกป่วย

บทคัดย่อ

น้ำนมแม่เป็นสารอาหารสำคัญส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการเจริญเติบโตของทารก แต่เมื่อทารกเจ็บป่วยมักจะไม่ได้รับน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่อง แนวทางแนวปฏิบัติ Ten Steps อาจแนวปฏิบัติหนึ่งที่จะส่งเสริมการรับน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่องในทารกที่เจ็บป่วย งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่องมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ Ten Steps ต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย มารดาของทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรมสาย2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในทารกป่วยที่ได้ และแบบบันทึก ประกอบด้วย แบบบันทึกการส่งนมแม่ในทารกป่วย แบบบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหลังจำหน่าย และแบบบันทึก การปฏิบัติตาม Ten steps ของบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ในปี 2559 และ 2560 อัตราการส่งนมแม่ในทารกป่วย เป็นร้อยละ 82.5, 83.36 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนหลังจำหน่ายร้อยละ 44.5, 50.59 และ อัตราการปฏิบัติตามTen steps ของพยาบาลวิชาชีพที่ร้อยละ 81.13, 88.12 ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้แม้จะเป็นการนำร่องการใช้ Ten Steps ต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ในทารกป่วยแต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการเปรียบเทียบเชิงสถิติและให้มีการประเมินผล ติดตามการใช้ Ten Steps ต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนเพิ่มขึ้นต่อไป

References

วิกิพีเดีย.สารภูมิต้านทาน/อิมมูโนกลอบบูลินเอ(IgA) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ14 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก:https://th.wikipedia.org/wiki/สำรภูมิต้ำนทำน/อิมมูโนกลอบบูลินเอ(IgA)

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงษ์. Lactoferrin / แล็กโทเฟอร์ริน [อินเตอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ15 ก.พ. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/4008

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงษ์.Lysozyme / ไลโซไซม์ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ15 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3190/lysozyme

ภาสุรี แสงสุภวานิช. นมแม่กับโรคภูมิแพ้. ใน: ส่าหรี จิตตินันท์, วีระพงษ์ นัตรานนท์, ศิราภรณ์ สวัสดิวร, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:ความรู้...สู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2546 หน้า 38-41.

เกรียงศักดิ์ จิรแพทย์. Estabishment of Breast feeding. ใน: ศิราภรณ์ สวัสดิวร. สรุปผลการประชุมวิชาการนานาชาตินมแม่ในเด็กป่วยครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ: ไตเติ้ลพริ้นติ้ง; 2558. หน้า 14-17.

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ: ภำควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2554.

อุมาพร สุทัศน์วรวุฒ.นมแม่ความแตกต่างจากนมผสม [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.co.th/ search=จรรยำ+จิระประดิษฐา2013เกี่ยวกับนมแม่ในเด็กป่วย 8. World Health Organization, Maternal and Newborn Health. Thermal protection of the newborn: A practical guide. World Health Organization.Ganeva; 1997.

เกรียงศักดิ์ จิรแพทย์. Breast feeding Practice in Premature Infant. ใน:สุนทร ฮ่อเผ่าพันธ์, Neonatology. 2007. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ธนาเพส; 2550. หน้า 12-22.

Diane L. Spatz. Ten Steps for Promoting and Protecting Breastfeeding for Vulnerable Infants.J Perinat Neonatal Nurs 2004;18:385–96.

กระทรวงสาธารณสุข. 4 ยุทธศาสตร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ16 มี.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.slideshare.net/Plesiwimon/pp-excellence 12. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. แผนยุทธศาสตร์ [อินเตอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ16 มี.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sunpasit.go.th/2014/index.php?files=mission

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่มีภาวะเจ็บป่วย [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ16 มี.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://www.ns.mahidol.ac.th/breastfeeding/doc/newsletter/Nov-Dec_7.pdf

Dimitraki M, Tsikouras P, Manav B, Gioka T, Koutlaki N, Zervoudis S, et al. Evaluation of the effect of natural and emotional stress of labor on lactation and breast- feeding. Arch Gynecol Obstet. 2016;293:317-28.

Brownell E, Howard CR, Lawrence RA, Dozier AM. Delayed onset lacto genesis II predicts the cessation of any or exclusive breast feeding. J Pediatric 2012;161:608-14.

ภัสรา หากุหลาบ, นันทนา ธนาโนวรรณ. ผลของวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อพฤติกรรมการดูดนมและความพึงพอใจของมารดาในการให้ทารกดูดนมครั้งแรก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2553;28(Suppl.):8-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27