การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

ผู้แต่ง

  • นภสร ดวงสมสา วิทยำลัยพยำบำลบรมรำชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

บทคัดย่อ

หลอดเลือดดำอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อจากการสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 12 คน และผู้ป่วยที่เข้ำรับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ในการป้องกันการติดเชื้อจากให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายและแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบสังเกตการปฏิบัติ แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสิถิติแมคนีมาร์ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง คือ ขาดการทบทวนความรู้ ขาดการสนับสนุนอุปกรณ์ ขาดระบบการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลโดยใช้วงจร PDSA เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โดยจัดให้มีการทบทวนความรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างหนังสืออิเลคทรอนิคส์ จัดระบบการเฝ้าระวังเส้นเลือดดำอักเสบในฟอร์มปรอท สร้างนวัตกรรมวงล้อเตือนความจำ รวมทั้งแจกแผ่นพับแก่ผู้ป่วยและญาติ หลังการทดลองพบว่า ความรู้ การปฏิบัติบางข้อ และอัตราการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .01, และ .01 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลต่อไป

References

Abolfotouh MA, Salam M, Banis-Mustafa A, White D, Balkhy HH. Prospective study of incidence and predictors of peripheral intravenous catheter-induced complications. Therapeutics and Clinical Risk Management 2014;10: 993–1001.

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. สถิติหอผู้ป่วยวิกฤติโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: งานป้องกันและควบคุมการป้องกันและติดเชื้อ; 2555

Centers for Disease Control and Prevention. Guidelines for the Prevention of intravascular Catheter-Related infections 2015 [Internet]. 2015 [cited 2011 May 30]. Available from: http://www.cdc.gov/hicpac/pdf/guidelines/bsi-guidelines.pdf.

Cuellar LE, Fernandez-Maldonado E, Rosenthal VD, Castaneda-Sabogal A, Rosales R, Mayorga-Espichan MJ, et al. Device-associated infection rates and mortality in intensive care units of Peruvian hospitals:Findings of the International Nosocomial Infection Control Consortium. Rev Panam Salud Publica 2008;24:16-24.

The Joanna Briggs Institute. Supporting document for the Joanna Briggs Institute levels of evidence and grades of recommendation [Internet]. 2014 [cited 2015 Mar 25]. Available from:http://joannabriggs.org/jbi approach.

Wiechul R, Hodgkinson B. Promoting best practice in the management of peripheral intravascular devices. Adelaide: The Joanna Briggs Institute; 2002.

Grol R, Grimshaw J. From best evidence to best practice: Effective implementation of change in patients’care. Lancet 2003;362:1225-30.

Deming WE. The new economics for industry, government, education. Cambridge (MA): Massachusetts Institute of Technology, Center for Advanced Engineering Study; 1993.

เพ็ญนภา พร้อมเพรียง. ผลของส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายในโรงพยาบาลชุมชน [วิทยำนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

National Health and Medical Research Counsel. A guide to the Development, implementation and evaluation of clinical practice Guidelines [Internet]. 1998 [cited 2015 Mar 25]. Available from: http://www.ausinfo.gov.au/general/gen_hottobuy.htm

อารีรัตน์ คงตัน. ผลของการใช้ข้อมูลโดยใช้สื่อวิดีทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

Polit DF, Beck CT. Nursing research Principle and methods. 7thed. Philadelphia: Lippincott; 2008.

O’Grady NP, Alexander M, Burns LA, Dellinger EP, Garland J, Heard SO, et al. Guidelines for the prevention of intravascular catheter-related infections. Am J Infect Control; 2011:39(4 Suppl 1): S1-34.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์, บรรณาธิการ. ทฤษฎีการจำและการลืมในความจำมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2531.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดำรารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, ธนพร กาวีวน, อารีย์ กุณนะ, พัชรินทร์ เนตรสว่าง. การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบำลสาร 2557;41(พิเศษ):71-87.

Ray-Barruel G, Polit DF, Murfield JE, Rickard CM. Infusion phlebitis assessment measures: A systematic review. J Eval Clin Pract 2014;20:191-202.

Gonza´lez Lo´pez J L, Arribi V, Ferna´ndez del Palacio E, Olivares Corral J, Benedicto Martı C, Herrera Portal P. Indwell times, complications and costs of open vs closed safety peripheral intravenous catheters: A randomized study. Journal of Hospital Infection; 2013: 1-10.

George K, Muninarayanappa B. Effectiveness of structured teaching program on knowledge and practices of staff nurses on prevention of intravenous cannulae complications. Achive medicine health science 2013:1:155-9.

Fontela PS, Platt RW, Rocher I, Frenette C, Moore D, Fortin É, et al. Surveillance Provinciale des Infections Nosocomiales (SPIN) program: implementation of a mandatory surveillance program for central line-associated bloodstream infections. Am J Infect Control 2011; 39:329-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27