นวัตกรรม: เสื้อดุ๊กดิ๊ก

ผู้แต่ง

  • พัชรี ใจการุณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อนุสรา วัชการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อภิญญา หงษ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อรทัย ปริโยทัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อรปรียา มาโยธา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อรรฆดล แสงคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อาทิตยา แกนก่อ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อารยาภรณ์ ลาภบุญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อิทธิพล ฉิมงาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การสั่นปอด, เด็ก 2-5 ปี, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

ปัญหาการคั่งค้างของเสมหะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี อาจส่งผลต่อการหายใจที่ลำบากมากขึ้น การสั่นปอดอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ลดการคั่งค้างของเสมหะ ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้สร้างนวัตกรรม "เสื้อดุ๊กดิ๊ก" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและพัฒนานวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊ก และศึกษาความพึงพอใจและประเมินประคุณภาพนวัตกรรม การดำเนินการนวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊ก ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนานวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊ก ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ค้นหาปัญหา ผลกระทบ แนวทางการแก้ไข และสรุปประเด็นที่น่าจะเป็นไปได้ของนวัตกรรม 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ 3) ร่างและสร้างนวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊ก 4) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) ทดลองใช้ และ6) พัฒนานวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊ก ระยะที่ 2 ศึกษา ความพึงพอใจและประเมินประคุณภาพนวัตกรรมของผู้ปกครองที่มีต่อเสื้อดุ๊กดิ๊ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ 2 - 5 ปี ณ ชุมชนดงห่องแห่ ต.ปทุม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และทดลองใช้นวัตกรรม จำนวน 30 คน โดยใช้ แบบสอบถามของ ความพึงพอใจ (IOC = 0.88 และ α = .93) และประเมินประคุณภาพนวัตกรรม (IOC = 0.83 และ α = .93) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการดำเนินงานพบว่า 1) นวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊ก ภายนอกมีลักษณะตัวเสื้อคลุมด้วยผ้าพื้นเมืองติดเทปตุ๊กแกบริเวณไหล่ข้างซ้ายข้างขวา และด้านข้างของโครงเสื้อ พร้อมคู่มือประกอบการใช้นวัตกรรม และภายในประกอบด้วยมอเตอร์และวงจรควบคุมการสั่น และ 2) ระดับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.5 - 4.8, SD = 0.5 - 0.7) และระดับการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.6 - 4.7, SD = 0.6 - 0.7) นวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊กนี้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน แนวทางพัฒนาต่อไปคือการนานวัตกรรมเสื้อดุ๊กดิ๊กไปใช้กับเด็กทีมีปัญหาการคั่งค้างของเสมะในจำนวนที่มากขึ้น และเปรียบเทียบกับการเคาะปอดวิธีอื่นๆ เพื่อการประเมินนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพต่อไป

References

World Health Organization (WHO). Initiative for Vaccine Research (IVR): Acute respiratory infections [Internet]. 2011 [cited 2017 Sep 30]. Available from: http://www.who.int/whr/2002/whr2002_annex2.pdf.

ภรณี อนุสนธิ. รายงานวิจัยการศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพ แหล่งสนับสนุน และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลที่มีเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจวัย 1-5 ปี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2558.

ชญาน์นันท์ ใจดี. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลียงเด็ก. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดต่อที่น่าจับตามองในช่วงฤดูฝน [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://wesr.boe.moph.go.th/wesr_new/file/y57/F57181_1411.pdf

จิตสิริ รุ่นใหม่, เสริมศรี สันตติ, เรณู พุกบุญมี. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดการคั่งค้างของเสมหะในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552;15:400-16.

สุกัญญา เอกสกุลกล้า. เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมเชิงปฏิบัติ. การดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดทางกายภาพบำบัดทรวงอก.10-12 พ.ย. 2553; โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

สุจิตรา กล้วยหอมทอง, วิไลวรรณ กฤษณะพันธ์, เศกสรรค์ ชัยสุขสันต์, ชุลี โจนส์. ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฝึกหายใจ “BreatheMAX®” เพื่อเพิ่มการระบายเสมหะจากท่อลมในผู้ป่วยที่พึ่งเครื่องช่วยหายใจ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบาบัด 2554;23:95-108.

รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล, สิทธิประภา อิศรางกร ณ อยุธยา, วรรณิภา ชูชัย, จิตต์ปกรณ์ พิชัยธนาภรณ์. การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกเครื่องช่วยฟังโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2017;40: 11-22.

กฤษิยากร เตชะปิยะพร. การวิจัยและพัฒนา [อินเตอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://eportfolio.hu.ac.th/ekm// components/com_simpleboard/uploaded/files/R.doc.

ปฐมามาศ โชติบัณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ธารินี นนทพุทธ, จรูญรัตน์ รอดเนียม. นวัตกรรมชุดหุ่นฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2556;5:1-12.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ปฐมามาศ โชติบัณ, จรูญรัตน์ รอดเนียม และ ธารินี นนทพุทธ. นวัตกรรมหุ่นช่วยฝึกใส่สายให้อาหารทางสายยาง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 2554;4:55-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-07