ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่นในเขตเมือง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, วัยรุ่นบทคัดย่อ
ปัจจุบันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่นักศึกษาที่เป็นวัยรุ่นตอนปลายและเยาวชน ก็หันมาดื่มแอลกอฮอล์จนเป็นเรื่องปกติในสังคม และนับวันอายุของคนที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกก็ลดลงเรื่อยๆ จนเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายๆ ด้าน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยด้านพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งปัจจัยด้านการรับรู้ถึงผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อสัปดาห์ ของวัยรุ่นในเขตเมือง โดยใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นในเมือง โดยใช้สูตร Taro Yamane ในการกำหนด กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 326 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (ค่า IOC เท่ากับ 0.80) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Chi-square test ผลการศึกษาพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในเขตเมือง พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทสุรา โดยจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2 ขวด/กระป๋อง ต่อสัปดาห์ สาเหตุที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะอยากลองและเพื่อนชวน โดยจะเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สถานบันเทิง และโอกาสในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ เมื่ออยากดื่ม นักศึกษามีโอกาสในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ เมื่ออยากดื่ม ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ด้านรายได้ต่อเดือน ปัจจัยด้านพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สาเหตุที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งลักษณะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยด้านการรับรู้ถึงผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ผลเสียต่อสุขภาพ และการเกิดอุบัติเหตุมีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อสัปดาห์ ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05
References
อรุณรัตน์ สารวิโรจน์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/7589/1/345255.pdf
มรกต เขียวอ่อน, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในนักเรียนจ่าทหารเรือ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2560];30:36-51. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/100411/78069
อรทัย วลีวงศ์และคณะ. แอลกอฮอล์ กับปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคม [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://cas.or.th/wp-content/uploads/2016/05/alh_social_safety_20160512.pdf
Bartoli F, Carretta D, Crocamo C, Schivalocchi A, Brambilla G, Clerici M, et al. Prevalence and correlates of binge drinking among young adults using alcohol: a cross-sectional survey [Internet]. 2014 [cited 2018 Nov 25]. Available from: file:///C:/Users/Journal/Downloads/930795.pdf
Megan E P, John E S. Prevalence and predictors of adolescent alcohol use and binge drinking in the united states. Alcohol Res 2012;35: 193–200.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: 2550.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.
สำนักคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติเครื่องควบคุมดื่มแอลกอออล์ พ.ศ.๒๕๕๑ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://ddccenter.ddc.moph.go.th/infoc/download/
201706271498552484_คู่มือ%20พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์%20พ.ศ.%202551.pdf
บัณฑิต และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Science and Technology[อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2560];6:1-10. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Journal/Downloads/75727-Article%20Text-180784-3-10-20180518.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลสารวจพฤติกรรมการดื่มสุรา พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.พ. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib14/News/2561/08-61/N30-08-61-2.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.พ. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/43703-ปลุกพลังมด%20ชวน%20ช่วย%20เชียร์%20นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา%20.html
พนมพร ธรศร. การวิเคราะห์จำแนกประเภทปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.
รุ่งวิทย์ มาศงามเมือง และคณะ. การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักเรียนภาคกลาง. วารสารสุขศึกษา 2542;2:53-65.
พินทุอร วิรุฬห์ตั้งตระกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
บุญเสริม หุตะแพทย์, ชินรัตน์ สมสืบ, ประกายรัตน์ ภัทรธิติ, สุรพร เสี้ยนสลาย และ กุลกานต์ อภิวัฒนลังการ. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย : การสำรวจองค์ความรู้ สถานการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [อินเตอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อ 25พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก:file:///C:/Users/Journal/Downloads/KC4412004.pdf
ณัฐพล มั่นนาค. พฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการดื่มไวน์ นิสิตปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2543.
ปรียาพร ศุภษร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.
ดาริกา ใสงาม และนันท์นภัส พรุเพชรแก้ว. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรม เสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. ใน:สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, บรรณาธิการ. ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559. หน้า 17-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง