ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ขณะขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อรยา เหมือนวาจา วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เจนจิรา ร่มเริง วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วานิช สุขสถาน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ฝึกปฏิบัติการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

คุณภาพชีวิตถือเป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของสถาบันในด้านการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพอย่างหนึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลขณะที่ขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 124 คน ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง โดยใช้แบบวัด WHOQOL – 100 ฉบับภาษาไทย ค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ T - test และ One – Way Anova ผลการศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่ มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ใน ระดับระดับดี ร้อยละ 59.70 รองลงมา อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.30 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 28.63, 26.10, 22.66 และ 11.30 ตามลำดับ โดยพบว่าอายุ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตขณะที่ขึ้นฝึกปฏิบัติของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p< 0.05) จากผลการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ T- test (เพศ, โรคประจาตัว) พบทั้ง 2 ปัจจัยมีค่า p>0.05 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ One –Way Anova (อายุ, เกรดเฉลี่ยสะสม, ที่อยู่ปัจจุบัน, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, ที่พักอาศัย ในปัจจุบัน, สถานภาพสมรสบิดามารดา) พบมีเพียงอายุเท่านั้นที่มีค่า p< 0.05 ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนับสนุนนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ ด้านการเดินทาง ด้านแหล่งความรู้ และควรพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ตั้งแต่ช่วงอายุน้อย เพื่อให้เห็นถึงการพัฒนาที่เป็นไปอย่างก้าวหน้าและ เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิต ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

References

วัลลภา เชยบัวแก้ว. กรอบแนวคิดคุณภาพชีวิต (Conceptual Framework of “Quality of Life”) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: www2.tsu.ac.th/org/lic/uploads/images/life.docx

ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:1fUn0uGVe9UJ:https://www.tci-thaijo.org/index.php/bulletinAMS/
article/download/59887/49191/+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

John F. Helliwell, Richard Layard and Jeffrey D. Sachs. World Happiness Report 2018: New York; 2018.

กระทรวงสาธารณสุข. 10 ข้อสูตรสร้างสุขฉบับกรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27842.

BBC NEWS. รายงานความสุขโลก: ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด[อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/international-43426122

กระทรวงสาธารณสุข. ปี 61ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/37506-ปี%2061%20ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ.html

กฤษดา แสวงดี. วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;2:1-13.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์, เบญจวรรณ พิททาร์ด. คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2557;7:97-108.

กมลรัตน์ ทองสว่าง. คุณภาพชีวิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารสาระคาม 2560;8:1-14.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ปริทรรศ ศิลปะกิจ, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). กรมสุขภาพจิต; 2545.

สำราญ จูช่วย, สลักจิตร หิรัญสาลี, สุนทรีย์ สองเมือง. คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์: กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ปีการศึกษา 2555. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์; 2555.

พรชัย พุทธรักษ์, ดารงค์เกียรติ ศรีเทพ. คุณภาพชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สถาบันวิจัยและพัฒนา; 2554.

ลลิศรา สุขิโตวัฒน์, มาศ ไม้ประเสริฐ. คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสาขาอายุรศาสตร์ ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2559.

พัทนัย แก้วแพง, ธัญลักษณ์ ขวัญสุข, ณัฐณิชา ไชยเอียด. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สานักวิจัยและพัฒนา; 2547.

พนมพร กีรติตานนท์. ความสุขและคุณภาพชีวิตในการทางานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารทันดาภิบาล 2556;2: 49-58.

อิศวร ดวงจินดา. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;6:1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27