ภาวะโปรแลคตินในเลือดสูงในผู้ป่วยจิตเวช

ผู้แต่ง

  • ชมภูนุช วีระวัธนชัย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

คำสำคัญ:

ภาวะโปรแลคตินในเลือดสูง, เต้านมขยาย, ประจำเดือนผิดปกติ, ผู้ป่วยจิตเวช, ยาต้านโรคจิต

บทคัดย่อ

ภาวะโปรแลคตินสูงในเลือดเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบในผู้ป่วยที่ ใช้ยาจิตเวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาต้านโรคจิต ทั้งกลุ่มยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่า และ ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ (ริสเพอริโดน พาริเพอริโดน และ เอมิซัลไพล์) ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านโรคจิตที่เพิ่มระดับโปรแลคติน พบได้ถึงร้อยละ 47.6 - 65.6 ความชุกแตกต่างกันไปตามเพศ และช่วงอายุ ภาวะดังกล่าวจะพิจารณาจากระดับโปรแลคตินที่สูงกว่าปกติ เพศชายมีระดับโปรแลคตินในเลือดสูงกว่า 20 นาโนกรัม/มล. และ ในเพศหญิงสูงกว่า 25 นาโนกรัม/มล. ภาวะดังกล่าวมีผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้น ในผู้ป่วยเพศชายและหญิง พบว่า อาจทำให้เกิดภาวะความต้องการทางเพศลดลง น้ำนมไหล เต้านมขยายและเป็นหมัน ส่วนในเพศหญิงจะพบปัญหาประจำเดือนผิดปกติ ทั้งประจำเดือนขาด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกังวล และมีแนวโน้ม ที่จะไม่ร่วมมือในการรักษา และในระยะยาวปัญหาที่อาจจะตามมาคือ ภาวะกระดูกพรุน และมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงออกจนกว่าจะเกิด การหักของกระดูก หรือตรวจพบการลุกลามของมะเร็ง ส่งผลให้เกิดทุพพลภาพกับผู้ป่วย และเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลที่สูงตามมา ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง และเพิ่มภาระในการดูแลให้ญาติ และครอบครัวต่อไป การจัดการเบื้องต้น คือการลดขนาดของยาที่เป็นสาเหตุ หรือเปลี่ยนชนิดของยาต้านโรคจิต และกรณีที่ไม่ได้ผล อาจพิจารณาให้ยาอื่นๆ ร่วม เช่น ยากลุ่มออกฤทธิ์ เพิ่มโดพามีน (โดพามีน อโกนิส), อาริพิพราโซล, ยาฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงอาการทางคลินิกของผู้ป่วย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย อย่างไรก็ตามศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาวะ Hyperprolactinemia ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านโรคจิตในประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาในรูปแบบของการวิจัยในภาพรวมของประเทศ ดังนั้นจึงมีจำเป็นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในคนไข้โรคจิตของประเทศไทย เพื่อใช้พัฒนาระบบการจัดการภาวะ Hyperprolactinemia ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป

References

Holt RI, Peveler RC. Antipsychotics and hyperprolactinaemia: mechanisms, consequences and management. Clin Endocrinol (Oxf) 2011;74:141-7.

Inder WJ, Castle D. Antipsychotic-induced hyperprolactinaemia. Aust N Z J Psychiatry 2011;45:830-7.

Fitzgerald P, Dinan TG. Prolactin and dopamine: what is the connection? A review article. J Psychopharmacol 2008;22(Suppl 2):12-9.

Halbreich U, Kinon BJ, Gilmore JA, Kahn LS. Elevated prolactin levels in patients with schizophrenia: mechanisms and related adverse effects. Psychoneuroendocrinology 2003;28(Suppl 1):53-67.

Meaney AM, Smith S, Howes OD, O'Brien M, Murray RM, O'Keane V. Effects of long-term prolactin-raising antipsychotic medication on bone mineral density in patients with schizophrenia. Br J Psychiatry 2004;184:503-8.

Wikimedia Foundation. Bone density [Internet]. 2019 [cited 8 Apr 2019. Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Bone_density

Lin CH, Lin CY, Huang TL, Wang HS, Chang YC, Lane HY. Sex-specific factors for bone density in patients with schizophrenia. Int Clin Psychopharmacol 2015;30:96-102.

Stubbs B, De Hert M, Sepehry AA, Correll CU, Mitchell AJ, Soundy A, et al. A meta-analysis of prevalence estimates and moderators of low bone mass in people with schizophrenia. Acta Psychiatr Scand 2014;130:470-86.

Stubbs B, Gaughran F, Mitchell AJ, De Hert M, Farmer R, Soundy A, et al. Schizophrenia and the risk of fractures: a systematic review and comparative meta-analysis. Gen Hosp Psychiatry 2015;37:126-33.

Hankinson SE, Willett WC, Michaud DS, Manson JE, Colditz GA, Longcope C, et al. Plasma prolactin levels and subsequent risk of breast cancer in postmenopausal women. J Natl Cancer Inst 1999;91:629-34.

Wang PS, Walker AM, Tsuang MT, Orav EJ, Glynn RJ, Levin R, et al. Dopamine antagonists and the development of breast cancer. Arch Gen Psychiatry 2002;59:1147-54.

Ajmal A, Joffe H, Nachtigall LB. Psychotropic-induced hyperprolactinemia: a clinical review. Psychosomatics 2014;55:29-36.

Grigg J, Worsley R, Thew C, Gurvich C, Thomas N, Kulkarni J. Antipsychotic-induced hyperprolactinemia: synthesis of world-wide guidelines and integrated recommendations for assessment, management and future research. Psychopharmacology (Berl) 2017;234:3279-97.

Mittal S, Prasad S, Ghosh A. Antipsychotic-induced hyperprolactinaemia: case studies and review. Postgrad Med J 2018;94:226-9.

Montejo AL, Arango C, Bernardo M, Carrasco JL, Crespo-Facorro B, Cruz JJ, et al. Multidisciplinary consensus on the therapeutic recommendations for iatrogenic hyperprolactinemia secondary to antipsychotics. Front Neuroendocrinol 2017;45:25-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27