ภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียมสรรพสิทธิ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
คำสำคัญ:
ภาวะหัวใจหยุดเต้น, ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การทบทวนเหตุการณ์สำคัญบทคัดย่อ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและอันตราย ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แต่ยังทราบอุบัติการณ์และสาเหตุเล็กน้อย การศึกษาจึงมีความจำเป็น การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อทราบอุบัติการณ์และสาเหตุ ภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการวิจัย เชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยมีภาวะ หัวใจหยุดเต้นที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียมสรรพสิทธิ์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2558- 30 กันยายน พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้พัฒนาตามกรอบแนวคิดการทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ แบ่ง 2 ส่วน 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบบันทึกการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้น 28 ราย เพศหญิง 17 ราย เพศชาย 11ราย อายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 70 -90 ปี ขึ้นไป โรค AKI ร้อยละ 53.57มากกว่า โรค ESRD ร้อยละ 46.42 โรคร่วมที่พบภาวะหัวใจหยุดเต้นมากที่สุด คือหัวใจและหลอดเลือด รองลงมา คือ Septic Shock ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ระดับความรู้สึกตัว พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการซึมมากกว่า ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี อาการนำมาก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น คือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและความดันโลหิตต่ำ ตรวจ EKG พบ Pulseless electrical activity มากที่สุด รองลงมาคือ Asystole และ Ventricular tachycardia ส่วนใหญ่ พบในผู้ป่วยที่เริ่มฟอกเลือดครั้งแรกมากที่สุด จำนวน 12 ราย รองลงมาคือฟอกเลือดมากกว่า 3 ครั้ง ส่วนอัตราการดึงน้า พบว่า พบในผู้ป่วยที่ดึงน้า 500-1,000 ml/hr รองลงมา คือ ดึงน้าน้อยกว่า 500 ml/hr ช่วงเวลาที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น พบขณะฟอกเลือด มากที่สุด โดยพบมากใน 5 – 30 นาที 7 ราย ช่วง 40 - 60 นาที 6 ราย ผลการช่วยชีวิตกลับมามีสัญญาณชีพทุกราย สะท้อนถึงประสิทธิภาพของทีมในการช่วยชีวิตผู้ป่วย บทบาทพยาบาลพบว่า ยังมีบางส่วนที่ขาดการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนส่งนอกแผนกและก่อนฟอกเลือด ความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล หาแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นลดน้อยลง
References
Disease K. Clinical practice guidelines on hypertension and antihypertensive agents in chronic kidney disease. Am J Kidney Dis 2004;43(Suppl1):S1-290.
Rao MV, Qiu Y, Wang C, Bakris G. Hypertension and CKD: Kidney Early Evaluation Program (KEEP) and National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES), 1999-2004. Am J Kidney Dis 2008; 51(suppl2):S30-7.
กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559;4:485-503.
นฤตยา วโรทัย. Manual of Dialysis. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: นาอักษรการพิมพ์; 2561.
วรรวิษา สำราญเนตร. กลุ่มอาการขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.
ปรมัตถ์ ธิมาไชย. Manual of Dialysis. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2561.
ทวี ชาญชัยรุจิรา. Know how! know why!! in chronic hemodialysis prescription. ใน: ธนิต จิรนันท์ธวัช, สิริภา ช้างศิริกุลชัย, ธนันดา ตระการวานิช และวสันต์ สุเมธกุล, บรรณาธิการ. Practical Dialysis in the Year 2009. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2552. หน้า 33-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง