ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น

ผู้แต่ง

  • ลักขนา ชอบเสียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • จุฑามาศ โสพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ชญานิศ ทองมล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ชลดา สมคะเนย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ฎาฐิณี ลาภทวี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ณัชชริญา ชินทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ณัฐกานต์ วงศ์ปันติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ณัฐธิดา ทุมมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ทัศนีย์ แพงมาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสุขภาพ, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นหากมีการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม จะส่งผลต่อการดำเนินของโรคให้ช้าลง ชะลอความเสื่อมของไตและคงไว้ซึ่ง การทำหน้าที่ของไตได้ยาวนานที่สุด ความฉลาดทางสุขภาพมีผลต่อการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความฉลาด ทางสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมากว่าครึ่งมีระดับความฉลาดทางสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.60 ระดับปานกลาง ร้อยละ 32.10 และระดับต่ำ ร้อยละ 11.30 เมื่อพิจารณาความฉลาดทางสุขภาพแต่ละรายด้านจะพบว่าอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ด้านทักษะความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตระยะเริ่มต้น ร้อยละ 92.45 ด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ร้อยละ 77.46 ด้านทักษะการตัดสินใจ ร้อยละ 75.27 ด้านทักษะการสื่อสาร ร้อยละ 45.28 ด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ร้อยละ 60.38 และด้านทักษะการจัดการ ร้อยละ 66.04 จากการศึกษาทำให้ทราบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดทางสุขภาพอยู่ที่ระดับสูง มีเพียงด้านทักษะการสื่อสารไม่ถึงร้อยละ 50 การวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพให้เหมาะสมและออกแบบแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยให้สอดคล้องตามความต้องการและชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นต่อไป

References

ไทยรัฐ ออนไลน์. เผยสถานการณ์โรคไตในไทย คาดป่วยไตเรื้อรังแล้ว 8 ล้านคน[อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 29 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.co.th/content/408650

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: ทาเคดา; 2558.

สมพร ชินโนรส, ชุติมา ดีปัญญา. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด. วารสารเกื้อการุณย์ 2556;20:5-14.

ธเนศวุฒิ สายแสง, วีระศักดิ์ จิตไธสง, กนกรัศมิ์ สุทธิประภา, สุวรรณา ภัทรเบญจพล. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการสถานพยาบาลปฐมภูมิ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี; 2557.

Devraj R, Gordon E J. Health literacy and kidney disease: toward a new line of research. Am J Kidney Dis 2009;53:884-9.

Nutbeam D.The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;67:2072-8.

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2554.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row Publication; 1973.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;25:43-54.
Lee S Y, Arozullah A M, Cho Y I. Health literacy, social support, and health: a research agenda. Soc Sci Med 2004;58:1309-21.

Kobayashi L C, Smith S G, O’Conor R, Curtis L M, Park D, Von Wagner C, et al. The role of cognitive function in the relationship between age and health literacy: a cross-sectional analysis of older adults in Chicago, BMJ Open 2015;5:e007222.

กัญญา แซ่โก. ความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้ป่วยผ่าตัดตา [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Reisi M, Javadzade S H, Heydarabadi A B, Mostafavi F, Tavassoli E, Sharifirad G. The relationship between functional health literacy and health promoting behaviors among older adults. Int J Health Promot Educ 2014;3:119.

อรุณี หล้าเขียว, ทวีวรรณ ชาลีเครือ. ความฉลาดทางด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านเปียงหลวง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-28