ผลการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ โรงเรียนผู้สูงอายุนาผาง ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ มุลจันดา รพ.สต. นาผาง อ.ปทุมราชวงศา จ.อานาจเจริญ
  • ทัตภณ พละไชย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, สุข 5 มิติ

บทคัดย่อ

สถานการณ์และสัดส่วนของผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่สามารถดำเนินชีวิตด้วยตนเองได้ ดังนั้นการดูแลส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลที่เหมาะสม ไม่เกิดภาวะพึ่งพาในอนาคตต่อไป การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ โรงเรียนผู้สูงอายุนาผาง ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างเดือนธันวาคม 2559 ถึง เดือนเมษายน 2560 เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 95 คน ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ โรงเรียนผู้สูงอายุนาผาง 3 วิชา ได้แก่ วิชาการดูแลสุขภาพและนันทนาการ (สุขสบาย, สุขสนุก) วิชาภาษาและวัฒนธรรม (สุขสง่า, สุขสว่าง) วิชาพระพุทธศาสนา (สุขสงบ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเบื้องต้น คือ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีความสุขในภาพรวมคะแนนอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 48.42 รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 35.79 พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพลดลงจากระดับความเสี่ยงปานกลาง เป็นระดับความเสี่ยงต่ามีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 41.05 ผู้สูงอายุทั้งหมด มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นกลุ่มติดสังคม พึ่งตนเองได้ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ ร้อยละ 100 และประเมินสุขภาพช่องปากและฟันภายหลังได้เข้าร่วมกิจกรรมและรับบริการทางทันตกรรม พบว่า ดีขึ้น ร้อยละ 71.58 ผู้สูงอายุทั้งหมดไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 100) และผู้ที่มีปัญหาสมองเสื่อม มีจานวนลดลง (ร้อยละ 1.05) และพบว่าการคัดกรองภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ กลุ่มไม่มีความเสี่ยงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 78.97) และกลุ่มที่มีความเสี่ยงให้คำแนะนำการรักษามีจำนวนลดลง (ร้อยละ 21.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นและให้มีการประเมินผล ติดตามการจัดกิจกรรมเป็นระยะในทุก 1 เดือน เพื่อประเมินในสิ่งหรือผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จากัด; 2560.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สารประชากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdb.go.th/ download/article/article_20160323112431.pdf

กรมสุขภาพจิต. คู่มือ โปรแกรม 16 สัปดาห์เพื่อพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชา และคณะ. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลมาบ. วารสารการพยาบาลทหารบก 2555;13:8-17.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์ และคณะ. คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2558

กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2557.

สุดารัตน์ นามกระจ่าง, ลักษณี สมรัตน์ และ อนัญญา เดชะคาภู. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ ตำบลกระหวัด อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560. 10 มี.ค. 2560; ขอนแก่น. 2560.

ชัชญาภา สมศรี และคณะ. ผลของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติต่อความสุขของผู้สูงอายุโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2560;3: 3-14.

กันต์สุดา จันทร์แจ่ม. ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม ตามแนวคิด ความสุข 5 มิติ ของกรมสุขภาพจิตเพื่อส่งเสริมความผาสุกในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-7-1_1515558348_is-phy-0002-10012561.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-28