การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศและทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วีระนุช มยุเรศ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยเด็ก, ปอดอักเสบ, โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ, ทางเดินหายใจล้มเหลว, ช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต

บทคัดย่อ

โรคปอดอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเด็ก ปอดอักเสบที่รุนแรงจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะหายใจล้มเหลวและภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นภาวะวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยเด็กและครอบครัว จากการศึกษาผู้ป่วยเด็กชายอายุ 3 ปี 1 ราย วินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบและมีภาวะหายใจล้มเหลว การรักษาและดูแลประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1 คือ ระยะแรกรับ ใส่เครื่องช่วยหายใจ ดูแลให้ยาปฏิชีวนะและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ รวมถึงการให้ข้อมูลกับผู้ดูแล ระยะที่ 2 เป็นระยะต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ โปแทสเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดต่า ผู้ป่วยได้รับการช่วยหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความถี่สูง ยาปฏิชีวนะและยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจใส่สายระบายทรวงอก รวมทั้งการแก้ไขภาวะโปแทสเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดต่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ได้รับการรักษาทำ Tracheostomy และระยะที่ 3 ระยะสุดท้ายเป็นระยะก่อนจำหน่าย มารดาผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ได้แก่ การทำแผล Tracheostomy, การดูดเสมหะและการป้องกันการติดเชื้อ มารดาได้รับคำแนะนำและฝึกทักษะต่อเนื่อง ผลการดูแลรักษาคือผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้ตามอัตภาพ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กรายนี้มีความยุ่งยาก ซับซ้อนแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเนื่องจากความร่วมมือของสหวิชาชีพและการดูแลอย่างใกล้ชิดของพยาบาลวิชาชีพและเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและประสิทธิภาพ การพยาบาล พยาบาลวิชาชีพได้ใช้ความรู้หลากหลาย ทั้งความเข้าใจเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลรักษา การดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยากลุ่มเสี่ยงสูง เป็นต้น การศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบ ที่มีภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศและทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ร่วมกับภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคปอดอักเสบ[อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http//www.boe.moph.go.th/Pneumonia

อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, พนิดา ศรีสันต์, กวีวรรณ ลิ้มประยูร และ สนิตรา ศิริธางกุล, บรรณาธิการ. Common Pediatric Respiratory Disease 2016. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์; 2559.

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. รายงานประจำปี ปีงบประมาณ 2560. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์; 2560. หน้า 265-70.

เกศรา เสนงาม. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของระบบหายใจ. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2551

Brenda M. Morrow and Andrew C. Argent. A Comprehensive review of pediatric endotracheal suctioning: Effects, indications and clinical practice. Pediatr Crit Care Med 2008. vol.9 No.5.

วัลภา คุณทรงเกียรติ. ภาวะช็อคและการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทพี เพรส จากัด; 2551.

Dellinger RP, Carlet JM, Masur H, et al. Surviving sepsis campaign guidelines for Management of severe sepsis and septic shock. Crit Care Med 2004;32:858-73.

สุขเกษม โฆษิตเศรฐ, ศุกระวรรณ อินทรขาว, สุดาทิพย์ ผาติชีพ และ พชรพรรณ สุรพลชัย. ภาวะวิกฤติในกุมารเวชศาสตร์ I. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส; 2557.

อวยพร กิตติเจริญรัตน์ และศิริพร สังขมาลย์. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด. กรุงเทพฯ: กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2554.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก. เล่ม 2. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28