ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
ระดับความเครียด, นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1, บุคลิกภาพบทคัดย่อ
ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย รวมทั้งอาจเกิดขึ้นได้กับนักศึกษาพยาบาลด้วย ถ้านักศึกษาพยาบาลเกิดความเครียดก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักศึกษาได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศึกษาในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 120 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ซึ่งใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด และแบบสอบถามระดับความเครียด โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.81 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ (Chi – square test) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 มีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 54 ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล พบว่าในด้านบุคลิกภาพ (p = 0.000) ด้านสุขภาพ (p = 0.002) และด้านการเรียน(p = 0.005) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้บริหารและอาจารย์สามารถนาผลงานวิจัยไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม
References
กิติพงษ์ ขัติยะ. การศึกษาความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2543 มหาวิทยาลัยแม่โจ้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2543.
Murphy B, Herrman H, Hawthorne G, Pinzone T, Evert H. Australian WHOQOL Instruments: user’s manual and interpretation guide. Melbourne: Australia WHOQOL Field Study Centre; 2000.
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ดัชนีความเครียดของคนไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:https://www.ryt9.com/s/abcp/2839560.
Chan CKL, Winnie KW, Fong DYT. HongKong baccalaureate nursing students’ stress and their coping strategies in clinical practice. J Prof Nurs 2009;25 :307-13.
Liu M, Gu K, Wong TKS, Luo MZ, Chan MY. Perceived stress among Macao nursing students in the clinical learning environment. Inter J Nurs Sci 2015;2:128-33.
Khater WA, Akhu-Zaheya LM, Shaban IA. Sources of stress and coping behaviors in clinical practice among baccalaureate nursing students. Int J Humanit Soc Sci 2014;4:194-202.
พนม เกตุมาน. ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 21 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.psyclin.co.th/new_page_3.htm
สุธีรา เทิดวงศ์วรกุล. การศึกษาการปรับตัวและสุขภาพจิตของนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์จิตวิทยาพัฒนาการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2547.
สุวรรณา สี่สมประสงค์. การศึกษาความเครียดของนักศึกษาแพทย์ระดับชันปีที 4-6 [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์จิตวิทยาการแนะแนวมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
วัลลภา ตันติสุนทร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่คัดสรรกับความเครียด และระหว่างความเครียดกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2532.
กมลรัตน์ ทองสว่าง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด ความฉลาดทางอารมณ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18:91-100.
Piyayodilokchai H, Kampusiripong , Sawamuang M, Chandrapas T. Stress and stress Coping of Business Information Technology Students of Rajamangala University of Technology Rattanakosin. Bophit Phimuk Chakkrawat; 2014.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 26 เม.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.saddhadhamma.org/sattatam25/page4.htm
สุรีย์ ห้วยธาร. บุคลิกภาพกับความเครียด ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.
อรุณี มิ่งประเสริฐ. การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2557;40:211-27.
ธัญญารัตน์ จันทรเสนา. เรื่องความเครียดของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การอุดมศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.
Suttharangsee W, Petcharat B, Intanon T. Stress management behaviours and related factors among nursing students, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University [Research report]. Songkla: Prince of Songkla University; 2004.
Siriwan Vatanasin. Perceived stress level and Sources of Stress among Nursing Students at Faculty of Nursing, Burapha University. The Journal of Nursing Burapha University 2010;17:48-59.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง