การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานต่อสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและทักษะการทางานเป็นทีมในวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • แสงเดือน กิ่งแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • เยาวเรศ ประภาษานนท์ ข้าราชการบานาญ
  • วารุณี นาดูน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • บัณฑิตา ภูอาษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน, สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน เป็นการสอนที่จะช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการทำงานเป็นทีมก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้โครงการ เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 159 คน เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยแผนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล แบบประเมินทักษะการทางานเป็นทีม และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้โครงการเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.925 0.932 และ 0.902 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ pair t-test และ Wilcoxon Signed Rank test และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การวางแผนและค้นคว้าเพิ่มเติม การดำเนินการตามแผน การสรุปผลการดำเนินการและการประเมินผล และการนำเสนอผลการดำเนินการ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการทำงานเป็นทีมก่อนและหลังการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานพบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) และความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้โครงการเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับดี ดังนั้น การสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาปฏิบัติวิชาอื่นได้

References

วิภาดา แสงนิมิตชัยกุล. การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2555;5(2):64-76.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

Krajcik SJ, Blumenfeld CP. Project Based Learning. The Cambridge handbook of the learning sciences. New York: Cambridge University Press; 2006.

สถาบันพระบรมราชชนก. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555). อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์; 2555.

ประกายฉัตร ขวัญแก้ว, พัชรา วาณิชวศิน, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สาหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2559;9(1):1-6.

สิทธิพล อาจอินทร์, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มข 2554;1(1):1-16.

ภัทรภร ผลิตากุล. การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานเพื่อประสบการณ์การสอนดนตรีของนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย 2560;10(3):694-708.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. Suranaree J. Soc. Sci 2560;11(1):61-74.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา, รัตนาวดี ชอนตะวัน, สุพิศ รุ่งเรืองศรี, บุญพิชชา จิตต์ภักดี, เพชรสุรี ทั้งเจริญกุล และคณะ. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาโครงการพัฒนาสุขภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27(ฉบับพิเศษ):102-13.

ยุวดี ฦๅชา, กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์, สุนีย์ ละกำปั่น, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, สุกัญญา ประจุศิลป และคณะ. สมรรถนะของพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ: ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

ศิริพร ขัมภลิขิต, ยุวดี ฦๅชา, จุฬาลักษณ์ บารมี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์, วงเดือน สุวรรณคีรี และคณะ. การประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล 2551;23(3):85-95.

ไทเลอร์. การใช้แบบจำลองเชิงบูรณาการของสเต็กและไทเลอร์เพื่อประเมินราย วิชาภาษาอังกฤษแบบเน้นงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ใน: ภมรารัตน์ วิริยะการุณย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2555.

ดวงเนตร ธรรมกุล, วนิดา ตันเจริญรัตน์, พูลทรัพย์ ลาภเจียม. ผลของการจัดการเรียนแบบโครงการต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2557;8(1):46-54.

ศิริพร ขัมภลิขิต, ยุวดี ฦๅชา, จุฬาลักษณ์ บารมี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์, วงเดือน สุวรรณคีรี และคณะ. การประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาโท. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2550;25(3):44-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28