สภาวะโรคฟันผุและพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธนานัฐ บุญอินทร์ โรงพยาบาลสำโรง อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สภาวะโรคฟันผุ, พฤติกรรมทันตสุขภาพ, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

ปัญหาโรคฟันผุเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำน ในนักเรียนกลุ่มดังกล่าว การทำความเข้าใจถึงสภาวะโรคฟันผุและพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา อาจเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มวัยเรียนต่อไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัย แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะโรคฟันผุ พฤติกรรมทันตสุขภาพและความสัมพันธ์ ของพฤติกรรมทันตสุขภาพกับสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี คำนวณและสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้ข้อมูลมาวิเคราะห์จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมทันตสุขภาพ และแบบบันทึกสภาวะของฟัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติถดถอย โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุร้อยละ 76.3 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 3.4 ซี่/คน ส่วนพฤติกรรมทันตสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 76.3 แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง มีการแปรงฟัน ก่อนเข้านอนทุกวันร้อยละ 54.2 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.6 ไม่ได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.1 กินขนมหรือลูกอมทุกวัน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 26.2 มีการดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมทุกวัน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมทันตสุขภาพกับสภาวะโรคฟันผุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่แปรงฟันวันละ 1 ครั้งมีโอกาส เกิดฟันผุมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่แปรงฟัน 2 ครั้งขึ้นไป 2.6 เท่า (OR = 2.6, 95% CI = 1.1 - 6.2) กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้แปรงฟันก่อนเข้านอนหรือแปรงเป็นบางวันมีโอกาสเกิด ฟันผุมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่แปรงทุกวัน 2.4 เท่า (OR = 2.4, 95% CI = 1.2-4.5) กลุ่มตัวอย่างที่กินขนมหรือลูกอมทุกวันมีโอกาสเกิดฟันผุมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่กินบางวันหรือไม่กินเลย 2.3 เท่า (OR = 2.3, 95% CI = 1.1-5.0) และกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมทุกวันมีโอกาสเกิดฟันผุมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ดื่มบางวันหรือไม่ดื่มเลย 3.8 เท่า (OR = 3.8, 95% CI = 1.5-9.3) ดังนั้นทันตบุคลากรควรพิจารณาถึงผลกระทบจากพฤติกรรมทันตสุขภาพ ต่อสภาวะโรคฟันผุเพื่อใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนต่อไป

References

สฎนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสารวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์, ธนนันท์ เพ็ชรวิจิตร. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เบสท์ บุ๊คส์ ออนไลน์; 2554.

Yadav K, Prakash S. Dental caries: A review. Asian Journal of Biomedical and Pharmaceutical Sciences 2016;53:1-7.

Veiga N, Aires D, Douglas F, Pereira M, Vaz A, Rama LF, et al. Dental caries: A review. J Dent Oral Health 2016;43:1-3.

Hujoel PP, Lingstrom P. Nutrition, dental caries and periodontal disease: P narrative review. J Clin Periodontal 2017;44:79-84.

Hayasaki H, Nakakura-Ohshima K, Nogami Y, Inada E, Iwase Y, Kawasaki K, et al. Tooth brushing for oral prophylaxis. Jpn Dent Sci Rev 2014;50:69-77.

Gallagher A, Sowinski J, Bowman J, Barrett K, Lowe S, Patel K, et al. The effect of brushing time and dentifrice on dental plaque removal in vivo. The Journal of Dental Hygiene 2009;83:111-6.

George J, John J. The significance of brushing time in removing dental plaque. Int J Dentistry Oral Sci 2016;3:315-7.

Attin T, Hornecker E. Tooth brushing and oral health: how frequently and when should tooth brushing be performed?. Oral Health Prev Dent 2005;3:135-40.

จันทร์เพ็ญ เกสรราช, นงลักษญ์ ดาวลอย, ปองชัย ศิริศรีจันทร์. พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล 2560;28:28-44.

Krisdapong S, Prasertsom P, Rattanarangsima K, Sheiham A. Sociodemographic differences in oral health-related quality of life related to dental caries in Thai school children. Community Dent Health 2013;30:112-8.

Mulu W, Demilie T, Yimer M, Meshesha K, Abera B. Dental caries and associated factors among primary school children in Bahir Dar city: A cross-sectional study. BMC Research Notes 2014:1-7.

Quadri MFA, Shubayr MA, Hattan AH, Wafi SA, Jafer AH. Oral hygiene practices among Saudi Arabian children and its relation to their dental caries status. Int J Dent 2018:1-6.

Soroye MO, Braimoh BO. Oral health practices and associated caries experience among secondary school students in Lagos State, Nigeria. Journal of oral research and review 2017;9:16-20.

Zhu L, Petersen PE, Wang HY, Bian JY, Zhang BX. Oral health knowledge, attitudes and behaviour of children and adolescents in China. Int Dent J. 2003; 53:289-98.

Skinner J, Byun R, Blinkhorn A, Johnson G. Sugary drink consumption and dental caries in New South Wales teenagers. Aust Dent J 2015;60:169-75.

ธิดารัตน์ ตั้งกิตติเกษม, วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์. สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนกลุ่มอายุ 12 ปีในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย ประจาปี 2553. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2555;17:9-22.

เขตสุขภาพที่ 10. แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2561. อุบลราชธานี: เขตสุขภาพที่ 10; 2561.

World Health Organization. Oral health surveys – Basic Methods. 5th Edition. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28