การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน : กรณีศึกษาตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วรางคณา บุตรศรี กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • อภิรดี เจริญนุกูล กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุข มีบทบาทที่หลากหลายในการช่วยดูแลประชาชนในชุมชน ในทุกกลุ่มวัยและทุกกลุ่มโรค แต่ทั้งนี้พบว่าการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวานนั้นยังมีข้อจำกัด วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุข มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การคัดกรอง การเยี่ยมบ้าน การประชาสัมพันธ์ขอมูลและการติดตามผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแต่ขาดความรู้ในการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ปัญหาแทรกซ้อนที่ตา มากที่สุดร้อยละ 77.5 รองลงมาคือ ด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ปัญหาแทรกซ้อนที่เท้า ร้อยละ72.5 ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับชุมชน คิดเป็นร้อยละ 62.5 และยังพบว่าขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้การพัฒนาฐานข้อมูลยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยมีข้อเสนอแนะคือ การให้ความรู้ควรให้ความรู้ที่เป็นปัญหาเฉพาะของพื้นที่ และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขรายใหม่ ควรได้รับการจัดอบรมให้มีความรู้พื้นฐานในด้านการดูแลสุขภาพ ส่วนกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขรายเดิมที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรมุ่งเน้นหลักให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนได้เพิ่มขึ้น

References

Adam JM, Tarigan NP. Comparison of The World Health Organization (WHO) two-step strategy and OGTT for diabetes mellitus screening. Acta Med Indones 2004;36:3-7.

Hangan P, Dall T, Nikolov P. Economic Costs of Diabetes in the U.S. in 2003. American Diabetes Association 2003;26:917-932.

ภาวนา กีรติยุตวงศ์, สมจิต หนุเจริญกุล. การติดตามประสิทธิภาพในระยะยาวของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์รามาธิบดี. 2010; 16(2):293 – 305.

ขนิษฐา นันทบุตร. สุขภาพชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยและ พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสภาการพยาบาล; 2550.

Sein, U.T. Health Volunteers: Third Workforce for Health-for-All Movement. Regional Health Forum 2006;10:38-48.

ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32:87-96.

ประภาส อนันตา, จรัญญู ทองเอนก. ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2555. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2556;20:1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-28