การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ผ่องศิริ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • กุลธิดา กุลประฑีปัญญา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • วรางคณา บุตรศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ลักขณา ชอบเสียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • นวพล แก่นบุปผา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, ต้นทุนการผลิต, นักศึกษาพยาบาล, หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ปีงบประมาณ 2558 โดยจัดแบ่งหน่วยต้นทุนออกเป็น หน่วยต้นทุนหลัก คือ งานบริหารหลักสูตร/วิชาการ และงานพัฒนาบุคลากร หน่วยต้นทุนสนับสนุน คือ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายส่งเสริมวิชาการ ยกเว้นงานพัฒนาบุคลากร และจำแนกองค์ประกอบต้นทุน ออกเป็น 3 ประเภท คือ ต้นทุนงบบุคลากร ต้นทุนงบดำเนินการ ต้นทุนงบลงทุน การกระจายต้นทุนจากหน่วยต้นทุนสนับสนุนไปยังหน่วยต้นทุนหลัก ใช้เกณฑ์จำนวนคน จำนวนโครงการ และจำนวนพื้นที่การใช้งานเป็นเกณฑ์ปันส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนงบบุคลากร (Labour Cost = LC) ข้อมูลต้นงบดำเนินการ (Material Cost = MC) ข้อมูลต้นทุนงบลงทุน (Capital Cost = CC) ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนงบบุคลากร เมื่อจำแนกตามหน่วยต้นทุน งานบริหารหลักสูตร/วิชาการมีต้นทุนงบบุคลากรสูงที่สุดเป็นเงิน 24,732,026.55 บาท (ร้อยละ42.37) รองลงมาคือ ฝ่ายบริหารเป็นเงิน 9,129,809.69 บาท (ร้อยละ 15.64) และงานพัฒนา/กิจการนักศึกษา 5,106,668.64 บาท (ร้อยละ 8.75) ตามลำดับ ต้นทุนงบดำเนินการ เมื่อจำแนกตามหน่วยต้นทุน พบว่างานเทคโนโลยีสารสนเทศมีต้นทุนงบดำเนินการสูงที่สุด เป็นเงิน 3,990,097.99 บาท (ร้อยละ 26.01) รองลงมาคือ งานบริหารหลักสูตร/วิชาการเป็นเงิน 3,555,223.38 บาท (ร้อยละ 23.17) และฝ่ายบริหาร 3,335,759.03 บาท (ร้อยละ 21.74) ตามลำดับ ต้นทุนงบลงทุน เมื่อจำแนกตามหน่วยต้นทุน พบว่า งานบริหารหลักสูตร/วิชาการ มีต้นทุนงบลงทุนสูงที่สุด เป็นเงิน 6,415,973.28 บาท (ร้อยละ 62.53) รองลงมาคือ ฝ่ายบริหารเป็นเงิน 1,602,499.97 บาท (ร้อยละ15.62) และงานพัฒนา/กิจการนักศึกษา 1,591,786.80บาท (ร้อยละ 15.51) ตามลำดับ อัตราส่วนต้นทุนระหว่างงบบุคลากร งบดำเนินการ งบลงทุน และงบเงินอุดหนุน พบว่าร้อยละต้นทุนระหว่างงบบุคลากร ต่อ งบดำเนินการ ต่องบลงทุน ต่องบเงินอุดหนุน คิดเป็น 69.51 : 18.27 : 12.22 ต้นทุนต่อการผลิตนักศึกษาแยกตามชั้นปี พบว่า ชั้นปีที่ 1 มีต้นทุนสูงสุด คือ 191,260.60 บาท ชั้นปีที่ 2 รองลงมา คือ 144,121.16 บาท ชั้นปีที่ 3 102,792.95 บาท ชั้นปีที่ 4 82,425.46 บาท ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พบว่า ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตต่อคน เป็นเงิน 130,196.31 บาท ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตต่อ FTES เป็นเงิน 129,589.42 บาท สำหรับจุดคุ้มทุนในการผลิตต่อหลักสูตร/ปี เท่ากับ 152 คน

References

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ประจำปีงบประมาณ 2555; 2558.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ประจำปีงบประมาณ 2547; 2548.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, เยาวเรศ ประภาษานนท์, วิมลพรรณ สังข์สกุล. รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ประจำปีงบประมาณ 2549; 2550.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา. สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา; 2557.

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. ประชาคมอาเซียน[อินเทอร์เนต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ;2554 [เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค. 2558] เข้าถึงได้จาก: http://www.secondary41.go.th/doc/Asian/prachakomAsian.PDF

Berman HJ, Weeks LET. The financial management of hospital. Ann Arbor: Administration Press; 1979.

สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ. หลักเกณฑ์วิธีการคานวณต้นทุนผลผลิต. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง; 2553.

สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ. แนวทางการคำนวณต้นทุนผลผลิตปีงบประมาณสำหรับส่วนราชการ พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง; 2557.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. การบัญชีต้นทุน [อินเทอร์เนต]. 2548 [เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค. 2558] เข้าถึงได้จาก: http://home.kku.ac.th/anuton/cost%20accounting/cost%20allocation%20and%20ABC.htm

ลำไย มากเจริญ. การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จากัด; 2556.

สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธ์, สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา, ศรีวรรณ สุพรรณสาร, เจริญ บุญมี. การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18:104-12.

ภูษิตา อินทรประสงค์, สุคนธา คงศีล, วรรณภา สุมิรัตนะ. การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2546;33:167-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-28