ความปวดประจำเดือนและการดูแลตนเองในการจัดการความปวดของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นววรรณ ชนะชัย โรงพยาบาลวารินชาราบ อุบลราชธานี
  • นาฏอนงค์ ดำพะธิก โรงพยาบาลนาตาล อุบลราชธานี
  • นุชนาฏ พันธุลี โรงพยาบาลเดชอุดม อุบลราชธานี
  • นุสรา ประเสริฐศรี ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ปวดประจำเดือน, นักศึกษาพยาบาล, การจัดการความปวด, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

อาการปวดประจำเดือนเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตวัยรุ่นหญิง ยังมีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับความปวดประจำเดือนและการดูแลตนเองของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ อาการของความปวดประจำเดือนและการดูแลตนเองในการจัดการความปวดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลทั้งหมด 202 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเก็บข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) Brief Pain Inventory (BPI) ฉบับภาษาไทย และ 3)แบบประเมินการดูแลตนเองในการจัดการความปวด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 21.02 ± 1.23 ปี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ปวดประจำเดือนร้อยละ 92.7 ความปวดมากที่สุดในวันแรกของรอบประจำเดือนร้อยละ 92.5 ค่าเฉลี่ยของความปวดมากที่สุดเท่ากับ 5.4 (SD ± 2.9) และความปวดเฉลี่ยเท่ากับ 3.9 (SD ± 1.7) ผลกระทบของของความปวดความรุนแรงอยู่ในระดับกลางค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.9 ถึง 5.4 ซึ่งผลกระทบด้านอารมณ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 5.4 (SD ± 2.9) ร้อยละ 48 ของกลุ่มตัวอย่าง ดูแลตนเองจัดการความปวดด้วยการใช้ยาและเรียนรู้ด้วยตนเองและส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการไม่ใช้ยาในการบรรเทาความปวดประจำเดือน โดยการเรียนรู้จากหลายแหล่ง นักศึกษาบางส่วนยังมีความปวดประจำเดือนในระดับกลาง ดังนั้นควรให้คำแนะนำปรึกษาสาเหตุและวิธีการจัดการความปวดประจำเดือนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

Seven M, Guvenc G, Akyuz A, Eski F. Evaluating dysmenorrhea in a sample of Turkish nursing students. Pain management nursing: official journal of the American Society of Pain Management Nurses 2014;15:664-71.

Eryilmaz G, Ozdemir F, Pasinlioglu T. Dysmenorrhea prevalence among adolescents in eastern Turkey: its effects on school performance and relationships with family and friends. Journal of pediatric and adolescent gynecology 2010;23:267-72.

Potur DC, Bilgin NC, Komurcu N. Prevalence of dysmenorrhea in university students in Turkey: effect on daily activities and evaluation of different pain management methods. Pain Management Nursing 2014;15:768-77.

Dmitrovic R, Peter B, Cvitkovic-Kuzmic A, Strelec M, Kereshi T. Severity of symptoms in primary dysmenorrhea -A Doppler study. European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology 2003;107:191-4.

Parker M, Sneddon A, Arbon P. The menstrual disorder of teenagers (MDOT) study: determining typical menstrual patterns and menstrual disturbance in a large population based study of Australian teenagers. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology 2010;117:185-92.

Chiou MH, Wang HH. Predictors of dysmenorrhea and self-care behavior among vocational nursing school female students. The journal of nursing research 2008;16:17-25.

Chongpensuklert Y, Kaewrudee S, Soontrapa S, Sakondhavut C. Dysmenorrhea in Thai secondary school students. Thai Journal of Obstetric and Gynecology 2008;16:47-53.

Tangchai K, Titapant V, Boriboonhirunsarn D. Dysmenorrhea in Thai adolescents: prevalence, impact and knowledge of treatment. Journal of Medical Association Thailand 2004;87:S69-S73.

Denyes MJ, Orem DE, Bekel G. Self-care: a foundational science. Nursing Science Quarterly 2001;14:48-54.

Agarwal A, Venkat A. Questionnaire study on menstrual disorders in adolescent girls in Singapore. J Pediatr Adolesc Gynecol 2009;22:365-71.

Chen C-H, Lin Y-H, Heitkemper MM, Wu K-M. The self-care strategies of girls with primary dysmenorrhea: a focus group study in Taiwan. Health Care Women Int 2006;27:418-27.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวิสถิติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

Chaudakshetrin P. Validation of the Thai Version of Brief Pain Inventory (BPI-T) in cancer patients. 2009.

Seven M, Güvenç G, Akyüz A, Eski F. Evaluating dysmenorrhea in a sample of Turkish nursing students. Pain Manag Nurs 2014;15:664-71.

Guvenc G, Kilic A, Akyuz A, Ustunsoz A. Premenstrual syndrome and attitudes toward menstruation in a sample of nursing students. J Psychosom Obstet Gynaecol 2012;33:106-11.

Wong LP, Khoo EM. Dysmenorrhea in a multiethnic population of adolescent Asian girls. Int J Gynaecol Obstet 2010;108:139-42.

Lefebvre G, Pinsonneault O, Antao V, Black A, Burnett M, Feldman K, et al. Primary dysmenorrhea consensus guideline. J Obstet Gynaecol Can 2005;27:1117-46.

Nwankwo TO, Aniebue UU, Aniebue PN. Menstrual disorders in adolescent school girls in Enugu, Nigeria. J Pediatr Adolesc Gynecol 2010;23:358-63.

Chiou MH, Wang HH. [The relationship between dysmenorrhea and menstrual attitudes among female students in vocational nursing schools]. Hu Li Za Zhi 2004;51:45-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-28