การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยนอกโรคมะเร็ง ระหว่างรับรังสีรักษาในชุมชนบ้านเช่าชั่วคราว

ผู้แต่ง

  • ชลิยา วามะลุน โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • โสภิต ทับทิมหิน โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • เพชรไทย นิรมานสกุลพงศ์ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • ชนาธิป หาหลัก โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • สง่า ทับทิมหิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ภัทรวิมล ลิ้มจิตรกร โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • อาไพวรรณ ทองสุพล โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็ง, รังสีรักษา, รูปแบบการดูแล, ชุมชน

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งรับรักษาด้วยรังสีรักษาที่อาศัยในชุมชนบ้านเช่าชั่วคราวใกล้โรงพยาบาล เพื่อสะดวกในการรักษา ยังขาดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยรังสีรักษาในชุมชนบ้านเช่าชั่วคราว บ้านดงคาอ้อ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Chronic care model) และใช้ Research and development ในการดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2559 การศึกษาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2) วางแผนและตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไข 3) ปฏิบัติตามแผนสะท้อนและปรับปรุงการปฏิบัติ และ 4) ประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ให้บริการของโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี อย่างละ 92 คน เจ้าของบ้านพัก (บ้านเช่า) 6 คน และผู้นำชุมชน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสีรักษาในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบในการดูแลประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างรับการรักษาด้วยรังสีรักษาในชุมชน 2) โปรแกรมการให้ข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี 3) บัตรสำหรับการบันทึกข้อมูลอาการของผู้ป่วย และบัตรบันทึกรายละเอียดการฉายรังสี เพื่อการให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลชุมชนและผู้ให้บริการได้มีส่วนร่วมในการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมการดูแลทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยภายหลังการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างรับการรักษาด้วยรังสีรักษาในชุมชน เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยก่อนและหลังการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

World Health Organization and International Union Against Cancer. Global Action Against Cancer. Geneva: World Health Organization; 2005.

Woods,N.F., Lewis, F.M., & Ellison, E.S. Living with cancer family experiences. Cancer Nursing; 1989: 12(1): 28-33.

สมเกียรติ โพธิสัตย์. การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์; 2557.

American Cancer Society. Type of Cancer Treatment. 2017. Retrieved 15/02/2017. From http://www.org>treatment

วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. การพยาบาลที่เป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. บทที่ 3 คุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรคมะเร็ง, บทที่ 4 อาการและการจัดการกับอาการในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์; 2554: 79-220.

ณัฎฐชา เจียรนิลกุลชัย และสายหยุด เถาลัดดา. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งสมองทุติยภูมิที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2559; 36(4):209-222.

Pawel B. & Maria Z. Social support of chronically mentally ill patients. 2008. 2: 13–19. Retrieved 06/06/2013. From http://www.archivespp.pl/uploads/images/2008_10_2/13_p_Archives%202_08.pdf

อรสา วัฒนศิริ และเสาวภา ศรีภูสิตโต. การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแล โรงพยาบาลกาแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล. 2556, 40(1), 67-83.

Kemis, S & Mc Taggart,R. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin Univversity. 1990.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ; สุวีริยาสาสน์; 2543: 36-42

Wagner EH, Davis C, Schaefer J, Von Korff M, Austin B. “A Survey of Leading Chronic Disease Management Programs: Are They Consistent with the Literature?”. Managed Care Quarterly. Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hindmarsh M1999; 7(3):56–66.[PubMed

Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hindmarsh M, Schaefer J, Bonomi A. Improving chronic illness care: translating evidence into action. Nov-Dec 2001; 20(6):64-78.

สมพงษ์ จันทร์โอวาท สุภาพร สุโพธิ์และนวรัตน์ บุญนาน. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข; 2557;23: 394-402.

อภิญญา ไชยวงศา. ผลของการใช้โครงการสนับสนุนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-28