ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจ ในความสามารถในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง, ความมั่นใจในความสามารถบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย 2)เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความมั่นใจในระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการสอน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 91 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 42 คน และกลุ่มควบคุม 49 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ สถานการณ์จำลองและหุ่นจำลองขั้นสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และแบบสอบถามวัดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยของความมั่นใจในความสามารถในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย ก่อนได้รับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองของกลุ่มทดลอง และภายหลังการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเท่ากับ 3.27 และ 4.33 ตามลาดับ และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยของความมั่นใจในความสามารถในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยของนักศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เท่ากับ 4.33 และ 4.27 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
References
สุพรรณี กัณหดิลก. กลยุทธ์การสอนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:34-41.
อดุลย์ วังศรีคูณ. การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2557;8:1-17.
Cant RP, Cooper SJ. Simulation-based learning in nurse education. Systematic Review Journal of Advanced Nursing 2010;66:3-15.
มาลี คาคง, ผาณิต หลีเจริญ, ยุวนิดา อารามรมย์, อริสา จิตต์วิบูลย์. ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:52-64.
Lewis R, Strachan A, Smith MM. Is high fidelity simulation the most effective method for the development of non-technical skills in nursing a review of the current evidence. The Open NURSING Journal 2012;6:82-89.
สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. ผลของการจัดการเรียนรู้โดย สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2560;23:113-127.
ณัฏฐชา เจียรนิลกุลชัย, ศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล. ผลของการสอน ฝึกปฏิบัติในห้องผ่าตัดโดยใช้สถานการณ์จำลองในห้องผ่าตัดในสภาพแวดล้อมจริงต่อทักษะพื้นฐานในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559;36:55-67.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2557.
สืบตระกูล ตันตลานุกุล, สุวัฒน์ รัตนศักดิ์, ชมพูนุช แสงพานิช, วิภาวรรณ สีสังข์, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2559;8: 22-25.
สุกัญญา วรรณศรี, สืบตระกูล ตันตลานุกุล, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนนิธิวิทย์ จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561;ฉบับพิเศษ:111-23.
Bandura, A. Social learning theory. New York: General Learning Press; 1977.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง