แนวทางการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก

ผู้แต่ง

  • ยุพาพร หอมสมบัติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • วัชรี อาภาธีรพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • สุนิสา ค้าขึ้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ลออวรรณ อึ้งสกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการความเครียด, ระดับความเครียด, ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด, นักศึกษาพยาบาล, การฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด สาเหตุความเครียด การจัดการความเครียด และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 รุ่น 63 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา จำนวน 141 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม จำนวน 58 ข้อ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย, ประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับความเครียดปานกลาง ร้อยละ 85.83 และระดับความเครียดมาก ร้อยละ 2.84 ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านความสามารถในการเรียนรู้ และปัจจัยด้านอื่นๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความเครียดของนักศึกษาในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก (p < 0.01) นอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจัยด้านความสามารถในการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรกสูงสุด (r=0.571) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการความเครียด นักศึกษาอยากให้อาจารย์ประจำกลุ่มพบพูดคุย และทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานก่อนฝึกปฏิบัติงานจริง เพื่อความมั่นใจ และสร้างความคุ้นเคย ความสัมพันธ์ที่ดีกับอาจารย์ประจำกลุ่ม

References

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9:81-92.

ลัดดาวัลย์ แดงเถิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ระหว่างฝึกปฏิบัติงาน. พิษณุโลก: สานักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.

สุริยา ยอดทอง, นันทยา เสนีย์ และจิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. เอกสารการประชุมวิชาการการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2560.

สุปราณี หมื่นยา และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทักษะการพยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรดิตถ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2557;8:200-11.

Leodoro L, Denise M, Donna G, Loretta T, Loanna P & Konstantinos T. A literature review on stress and coping strategies in nursing students. Journal of Mental Health 2017;26:471-480.

วิไลพร ขาวงษ์, สุดคะนึง ปลั่งพงษ์พันธ์ และทานตะวัน แย้มบุญเรือง. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. Journal of Health Science Research 2559;10:78-87.

ศุภกร หวานกระโทก. ความเครียด วิธีการจัดการ และผลของการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. เอกสารการประชุมระดับชาติ ประจำปี 2558 : Diversity in Health and Well-Being. 2558.หน้า 334-40.

Susan S, Amber V, & Jane S. Interventions to Reduce Perceived Stress Among Graduate Students: A Systematic Review With Implications for Evidence-Based Practice. Worldviews on Evidence-Based Nursing 2017;14:507-13.

นพนัฐ จาปาเทศ, วิญญ์ทัญญู บุญทัน และพรศิริ พันธสี. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ 2558;19:1-14.

พวงผกา อินทร์เอี่ยม, จาลอง ชูโต และสุนทรี ภานุทัต. ผลของการจัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติต่อความเครียดและความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 2: 2560.หน้า 170-179.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27