การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในหมู่ 10 ตำบลขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิตศรรษ์ วงษ์อนันต์ วิทยาลัยพบาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • พัชรี ใจการุณ วิทยาลัยพบาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • รัตนา บุญพา วิทยาลัยพบาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • วิษณุ จันทร์สด วิทยาลัยพบาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล วิทยาลัยพบาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • นภัทร บุญเทียม วิทยาลัยพบาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอย, ชุมชน, อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ชุมชนในปัจจุบันกาลังเผชิญ โดยเฉพาะชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท เพื่อความเข้าใจและการร่วมมือการจัดการขยะของประชาชนในชุมชนกึ่งเมืองกึงชนบท การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะมูลฝอย เจตคติที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอย พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน และ การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชน ใน หมู่ 10 ตำบลขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (N = 243) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ความรู้ เจตคติ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ส่วนลดปริมาณขยะในครัวเรือนโดยการไม่สร้างขยะให้เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 94.2) มีการคัดแยกขยะ (ร้อยละ 82.3) วิธีการทิ้งขยะในครัวเรือนโดยการ แยกขยะที่ขายได้และไม่ได้ก่อนทิ้ง (ร้อยละ53.5) การจัดการขยะในครัวเรือนจะเป็นการส่งต่อให้เทศบาล (ร้อยละ 90.5) ขยะที่ทิ้งมากที่สุดคือ ผัก ผลไม้ และเศษอาหาร (ร้อยละ 45.3) และต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการขยะ คือ วิธีการแยกขยะอย่างถูกวิธี (ร้อยละ 33.3) 2) ความรู้ เจตคติ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการจัดการมูลฝอย เท่ากับ 8.27 (SD = 2.00 ), 2.48 (SD = .33 ), 32.23 (SD =4.57) และ 3.36 (SD = .79) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า แม้การจัดการ มูลฝอยของชุมชนอยู่ในระดับดี และมีข้อค้นพบในเรื่องการทิ้งขยะประเภทผักอาหารและการจัดเก็บขยะที่ส่งต่อเทศบาลเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวควรมีการต่อยอดนวัตกรรมการจัดการขยะของชุมชน อาทิ ปุ๋ยชีวภาพ/ก๊าสชีวมวล หรือการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในชุมชนแบบมีส่วนร่วมการวิจัยในครั้งต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร: หัวใหญ่; 2560.

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ด้านการจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 6 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://infofile.pcd.go.th/waste/wsthaz_annual59.pdf

ปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมควบคุมมลพิษ. แผนแม่บทการจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://infofile.pcd.go.th/waste/PP_Fukuoka2.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับขยะมูลฝอย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://laws.anamai.moph.go.th/main.php?filename=3ALaws

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี. ฐานข้อมูลขยะมูลฝอย ประกอบด้วย 5 จังหวัด (จังหวัดยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี) ประจำปีงบประมาณ 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mnre.go.th/ckeditor/ upload/files/id164/pdf/garbage2560.pdf

เทศบาลขามใหญ่. สถิติประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.khamyaiubon.go.th/

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2558.

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปีพ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2560.

สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

นัยนา เดชะ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาฑิต สาขาการจัดการสิงแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

กิ่งแก้ว ปะติตังโข, นงลักษณ์ ทองศรี. Solid wast management in E-San Sub-district Municility, Muang District, Buriram Province. Journal of research and Development Institute Buriram Rajabhat University 2552;4:60-72.

สุรารักษ์ ขาวอิ่น, นงเยาว์ อุดรมศ์, สุสัณหา ยิ้มแย้ม. ผลการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีต่อการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน.พยาบาลสาร 2556;40: 38-50.

Twenge JM, Campbell SM. Generation differences in psychological traits and their impact on the workplace. Journal of Managerial Psychology 2008;23:862-77.

จอมจันทร์ นทีวัฒนา, วิชัย เทียน ถาวร.ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560;25:316-30.

สรุชัย พวงงาม, กัลญา แก้วประดิษฐ์. การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขยะ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย 2558;6:119-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27