ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการอาการปวดประจำเดือน ในสตรีวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อดิภา สี่แสน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อธิบดี เชื้อพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อภิญญา การินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อมรา ศรีเนตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อรทัย ทองปาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อ๋อมแอ๋ม ชุมมวล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อาริยา บุตรวาปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • กนกอร ไชยกาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

บทคัดย่อ

อาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่นเป็นอาการที่พบบ่อย ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งการจัดการอาการปวดประจำเดือนที่มีประสิทธิภาพจะทำให้อาการนั้นทุเลาลง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการอาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งหมด 341 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายวิธี (Multi – stage stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นทั้งหมด 5 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ในการจัดการอาการปวดประจาเดือน แบบสอบถามการรับรู้อาการ แบบสอบถามการจัดการอาการปวดประจำเดือน และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า อายุ (r = .71, p =< .001) ความรู้ (r = .62, p =< .001) การรับรู้อาการ (r = .64, p = < .001) และการสนับสนุนทางสังคม (r = .72, p =< .001) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการอาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยในครั้งนี้ ควรมีการวางแผนการจัดการกับอาการปวดประจำเดือนร่วมกับสตรีวัยรุ่น ผู้ปกครอง ครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการพยาบาล และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การให้คำแนะนำ หรือสนับสนุนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการอาการปวดประจำเดือนที่มีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization [WHO]. Child and adolescent health and development [Internet]. 2011 [cited 2018 Sep 30]. Available from: http://www.who.int/child_adolescent_health/news/archive/2011/01_06_2011/en/index.html

ศรีสมบัติ นวนพรัตน์สกุล. ยาที่ใช้ในโรคทางสูตินรีเวช. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2546.

French L. Dysmenorrhea. American Academy of Family Physician 2005; 71:285-91.

Burnett MA, Antao V, Black A, Feldman K, Grenville A, Lea R, at el. Prevalence of primary dysmenorrhea in Canada. J Obstet Gynaecol Can 2005;27:765-70.

Wong LP. Attitudes toward menstruation, menstrual-related symptoms, and premenstrual syndrome among adolescent girls: a rural school based survey. Women Health 2011;51:340-64.

Chongpensuklert Y, Kaewrudee S, Soontrapa S, Sakondhavut C. Dysmenorrhea in Thai Secondary School Students in Khon Kaen, Thailand. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology 2008;16:47-53

แสงสุรีย์ ประกอบธัญ. การจัดการอาการปวดประจาเดือนในสตรีวัยรุ่นโรงเรียนบ้านเขาเฒ่า ตาบลบางเตย อาเภอเมือง จังหวัดพังงา [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.data. boppobec.info/emis/student.php/

Dodd M, Janson S, Facione N, Fauceet E, Humphrey J. Advancing the science of symptom management. J Adv Nurs 2001;33:668-76.

Erikson, E. Identity: Youth and crisis. New York: W. W. Norton & Company; 1968.

รุ่งนภา คาฮ้อย, อุษณีย์ จินตะเวช, นิตยา ไทยาภิรมย์. การจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผาตัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร 2559:43;13-22.

Lenz ER, Pugh LC, Milligan RA, Giff A, Suppe F. The middle-rang Theory of Unpleasant Symptoms: An update. Adv Nurs Sci 1997;17:14-27.

สุวิสา ปานเกษม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกาลังกายของหญิงมีครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก 2556;14:35-47.

นุชลี อุปภัย. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

Miller JF. Coping with chronic illness : Overcoming powerlessness. 2nd ed. Philadelphai: F.A. Devis; 1992.

Lenz ER, Pugh LC, Milligan RA, Gift A, Suppe F. The middle-range theory of unpleasant symptoms: an update. Adv Nurs Sci 1997;19:14-27.

Cobb S. Social support as a moderator for life stress. Psychosom Med 1976;38:300-12.

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus R. The health-related function of social support. J Behav Med 1981;4:381-406.

Grey M, Knafl K, McCorkle R. A framework for the study of self- and family management of chronic conditions. Nurs Outlook 2006; 54:278-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-06