พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเสี่ยง, ภาวะไตเสื่อม, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม ข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและหาความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอน บาคมีค่าเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยจำนวน 54 คน (ร้อยละ 52.90) และมีความเสี่ยงในระดับปานกลางจำนวน 48 คน (ร้อยละ 47.10) เมื่อพิจารณาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมรายด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คือพฤติกรรมการออกกำลังกาย (Mean = 1.64, S.D.= 0.89) พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร (Mean = 1.52, S.D. = 0.72) และพฤติกรรมด้านอารมณ์ความเครียด (Mean = 1.27, S.D.= 0.76) ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดมีความเสี่ยงในระดับน้อย
คือพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่ (Mean = 0.07, S.D. = 0.43) พฤติกรรมการรับประทานอาหารเสริม (Mean = 0.33, S.D. = 0.53) และพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Mean = 0.39, S.D. = 0.57) ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงที่ปฏิบัติเป็นประจำร้อยละ 34.30 ได้แก่การดื่มชา กาแฟ และครีมเทียม รองลงมาคือ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเช่น นม เนย ถั่ว ไข่ เนื้อสัตว์ ที่ร้อยละ 28.40
ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของบุคลากร รวมทั้งทราบถึงระดับของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ดีเพื่อนำไปสู่การรับรู้และการวางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมทำให้องค์กรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติของบุคลากรให้มีสุขภาพที่ดีส่งผลต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
2.Jha V, García-García G, Iseki K, Li Z, Yang CW. Chronic kidney disease: global dimension and perspectives. The Lancet 2013;382:260-72.
3.กล้าเผชิญ โชคบำรุง. แบบประเมินระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อม.วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2555;35:9-7.
4.มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2554;20:5-16.
5.Yen M, Huang JJ, Teng HL, Education for patients with chronic kidney disease in Taiwan: a prospective repeated measures study. J Clin Nurs 2008;17:2927-34.
6.ภทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2558;10:44-54.
7.สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. โครงการป้องโรคไตเรื้อรังของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลโรคไตภูมิราชนครินทร์; 2556.
8.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย. กรุงเทพฯ:สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การเภสัชกรรม; 2556.
9.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2560.
10.กล้าเผชิญ โชคบำรุง. การศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังกรณีศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2556;36:57-65.
11.Hayden S. The Neuman Systems Model (5th ed.) by B. Neuman and J. Fawcett (Upper Saddle River, NJ: Pearson, 2011). Nursing Science Quarterly 2012;25:378-80. doi: 10.1177/0894318412457067
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง