การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเลคโทรนิค เรื่องการตรวจร่างกายทารกแรกเกิดสำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต

ผู้แต่ง

  • ปิยะรัตน์ แสงบำรุง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ธณัฏฐภรณ์ กุลแสนเตา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ศักดิธัช ทิพยวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

สื่อการสอนอิเลคโทรนิค, การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด, Moodle

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเลคโทรนิค เรื่องการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ก่อนเรียน –หลังเรียน ผ่านสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการใช้สื่อการเรียน การสอนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำการศึกษาในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อการเรียนการสอนอิเลคโทรนิค เรื่องการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนด 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เรื่องการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักศึกษามีระดับ ความพึงพอใจในการใช้สื่ออยู่ในระดับดี

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนแหล่งข้อมูล [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf

จันทนี รุ่งเรืองธนาผลและพิสิฐ ลิ้มอารีย์สุข. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.[อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.orca_share_media 1507219278938.pdf

รุ่งนภา จันทรา. ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4:180-5.

สุคนธ์ สินธนานนท์. พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคปริ้นติ้ง; 2556. หน้า 1-40.

สุคนธ์ สินธนานนท์.ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: 911เทคนิคปริ้นติ้ง; 2560. หน้า 6-42.

ชัยยงค์ พรหมวงษ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2556;5:7-20.

นิพล สังสุทธิ, ฐิติชญา หมูสี และยุทธพงษ์ สีลาขวา. การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมัลติมิเดีย เรื่องสวัสดีอาเซียนตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 2558;2:22-8.

เอกพงศ์ นพวงศ์. วิจัยพัฒนาสื่อการสอนบทเรียนรายวิชาการศึกษาเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย เรื่องการใช้ Unity –Mecanim. Journal of information Science and Technology 2015;5:9-16.

ไพรินทร์ มีศรีและ อวยพร มีศรี. ศึกษาการพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เรื่อง การวนซ้ำสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพรพบรมราชูปถัมภ์ 2558;10:49-56.

กมลวรรณ เฉิดฉันท์พิพัฒน์. การศึกษาผลการเรียนแบบผสมผสาน ที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน วิชาสื่อการศึกษาเบื้องต้น ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2554;2:222-33.

ทศพร ดิษฐ์ศิริ. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์แท็บเล็ต เรื่อง การบวก ด้วยเทคนิค ซีคริทอ๊อฟ เมนเทิลแมธ เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดเลขเร็ว สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการครุศาสตร์ อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2560;8:1-9.

อลงกต หาญชนะ. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการและการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจาปี 2557; 23 พ.ค. 2557; วิทยาลัยนครราชสีมา; นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-08