ผลการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
มาตรการบริหารจัดการ, การป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงปฏิบัติการ (Action research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงพยาบาลที่มี การรายงานการป่วยเป็นวัณโรคของบุคลากรสุขภาพอยู่ในห้าลำดับแรกของประเทศ ทั้งนี้มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Inclusion criteria และ Exclusion criteria ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 310 คน โดยแบ่งดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของการดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลขององค์การอนามัยโลก 2) ระยะดำเนินการวิจัยเป็นการพัฒนาแผนปฏิบัติการ การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงาน การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทุกระดับ และการกำกับติดตามทุกสามเดือน 3) ระยะคืนข้อมูล และ 4) ระยะการประเมินผล โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก โดยเครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ครอนบาคแอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลคือ ขาดแผนปฏิบัติการเฉพาะเจาะจงเรื่องการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค (ร้อยละ 96.45) 2) ผลการพัฒนาแผนปฏิบัติการ พบว่า เกิดแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 4 แผน 3) เกิดคู่มือปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล 4) ผลการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร พบว่า บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 48. 39 เป็นร้อยละ 86.45 5) ผลการคืนข้อมูล พบว่า มีการคืนข้อมูลผ่านตัวชี้วัดการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลทุกสามเดือน 6) ผลการประเมินพบว่า เกิดผลสืบเนื่องจากการใช้มาตรการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล สะท้อนจากมีระดับความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรนำผลการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลไปการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรควรพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังการป่วยเป็นวัณโรคของบุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาล
References
ปราชญ์บุณยวงศ์วิโรจน์.สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยและแนวทางแก้ไข.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2554;1:232-5.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
American Association of Respiratory Care. Clinical Practice Guideline. Respiratory Care 2010; 41:647-53.
Asimos AW, Kaufman JS, Lee CH, Griffith DE, Hardeman JL, Zhang Y, et al. Tuberculosis exposure risk in emergency medicine residents. Academics Emergency Med 2011;6:1044-9.
Centers of Disease Control and Prevention. Guidelines for preventing the transmission of Mycobacterium tuberculosis in health-care settings. Atlanta: Brochure Book Inc.; 2010.
Francis J. Curry National Tuberculosis Center. Tuberculosis infection control plan template for hospital. San Francisco: Linda Kittliz & Association; 2018.
Griffith DE, Hardeman JL, Zhang Y, Asimos AW, Kaufman JS, Lee CH, et al. Tuberculosis outbreak among healthcare workers in a community hospital. Am J Respir Crit Care Med 2015;152:808-11.
Anthony W P. Participative management. Manila, Philippines: Addison Wesley Publishing Company; 2018.
Bass, B. The Bass handbook of leadership: Theory, research, and managerial applications. New York: Simon & Schuster; 2012.
Herzberg F, Mausner B, and Peterson R, Cap-well D. Job attitudes: Review of research and opinion. Pittsburg: Psychological Service of Pittsburg; 2009.
House R.J, Filley AC, Kerr S. Managerial process and organization behavior. Illinois: Scott, Foresman and Company; 2016.
Kotter JP. A force for change: How leadership differs from management. New York: Free Press; 2010.
Northhouse PG. Leadership: theory and practice. 2nd ed. New York: Sage Publication; 2012.
Lunenburg FC. Leadership versus management: A key distinction in theory and practice. Houston, TX: The NCPEA Press/Rice University; 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง